พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. มูลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39660
อ่าน  390

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 674

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สติวรรคที่ ๔

๓. มูลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 674

๓. มูลสูตร

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นที่ประชุมลง มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรยิ่งกว่า มีอะไรเป็นแก่น เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์- ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมแห่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้ง กะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรม ทั้งปวง มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นสมุทัย มี อะไรเป็นที่ประชุมลง มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไร ยิ่งกว่า มีอะไรเป็นแก่น เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์ แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 675

ทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นทูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มี ผัสสะเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างแล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์- ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

จบ มูลสูตรที่ ๓

อรรถกถามูลสูตรที่ ๓

มูลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ได้แก่ ขันธ์ ๕. บทว่า ฉนฺทมูลกา ความว่า ชื่อว่า มีฉันทะเป็นมูล เพราะมีฉันทะคืออัธยาศัยและฉันทะ คือความเป็นสู่ใคร่จะทำเป็นมูลของขันธ์ ๕ นั้น. ชื่อว่ามีมนสิการเป็น แดนเกิด เพราะเกิดแต่มนสิการ. ชื่อว่ามีผัสสะเป็นสมุทัย เพราะ เกิด คือรวมเป็นกลุ่มผัสสะ ชื่อว่า มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง เพราะประชุมลงในเวทนา. ชื่อว่ามีสมาธิเป็นประมุข เพราะมี สมาธิเป็นประธาน. ชื่อว่ามีสติเป็นใหญ่ เพราะมีสติเป็นอธิบดี ด้วยอรรถว่าเจริญที่สุด อธิบายว่า มีสติเป็นหัวหน้า. ชื่อว่ามีปัญญา เป็นยอด เพราะอรรถว่ามีปัญญาสูงสุด. ชื่อว่ามีวิมุตติเป็นแก่น เพราะมีวิมุตติเป็นสาระ. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโลกิยธรรม ทั้ง ๔ มีฉันทะเป็นมูล เป็นต้น ที่เหลือตรัสคละกันทั้งโลกิยะและ โลกุตตระแล.

จบ อรรถกถามูลสูตรที่ ๓