๔. โจรสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 676
วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
สติวรรคที่ ๔
๔. โจรสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 676
๔. โจรสูตร
[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมพลันเสื่อม ตั้งอยู่ไม่นาน องค์ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ประหารคนที่ไม่ประหารตอบ ๑ ถือเอาสิ่งของไม่เหลือ ๑ ลักพาสตรี ๑ ประทุษร้ายกุมารี ๑ ปล้นบรรพชิต ๑ ปล้นราชทรัพย์ ๑ ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป ๑ ไม่ฉลาดในการเก็บ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมพลันเสื่อม ตั้งอยู่ ไม่นาน.
[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมไม่เสื่อมเร็ว ตั้งอยู่ได้นาน ๘ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ประหารคนที่ประหาร ๑ ไม่ถือเอาของจนไม่เหลือ ๑ ไม่ลักพา สตรี ๑ ไม่ประทุษร้ายกุมารี ๑ ไม่ปล้นบรรพชิต ๑ ไม่ปล้น ราชทรัพย์ ๑ ไม่ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป ๑ ฉลาดในการเก็บ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ไม่เสื่อมเร็ว ตั้งอยู่ได้นาน
จบ โจรสูตรที่ ๔
อรรถกถาโจรสูตรที่ ๔
โจรสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า มหาโจโร ได้แก่ มหาโจรผู้สามารถประทุษร้าย ราชสมบัติได้. บทว่า ปริยาปชฺชติ ได้แก่ ถึงการยึดครอง บทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 677
น จิรฏฺิติโก โหติ ได้แก่ ไม่สามารถจะรักษาให้ดำรงอยู่ได้นาน บทว่า อปฺปหรนฺตสฺส ปหรติ ความว่า ประหารบุคคลผู้ไม่มีเวร แก่ตน ผู้ไม่ประหารตน ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณความดี คนแก่ และ คนหนุ่มผู้ไม่ควรประหาร. บทว่า อนวเสสํ อาทิยติ ได้แก่ ยึดเอา ไม่ให้เหลือ. จริงอยู่ ธรรมเนียมของโจรผู้ฉลาดมีดังนี้ :- ในผ้า ๒ ผืน ของคนอื่น ถือเอาแต่ ๑ ผืน เมื่อมี ๑ ผืน ให้ส่วนที่ชำรุด ถือเอา แต่ที่ดี บรรดาห่อข้าวสุกและข้าวสารเป็นต้น ให้ส่วนหนึ่ง ถือเอา ส่วนหนึ่ง. บทว่า อจฺจาสนฺเน กมฺมํ กโติ ความว่า กระทำโจรกรรม ในที่ใกล้ชิดคามนิคม และราชธานี. บทว่า น จ นิธานกุสโล โหติ ความว่า ย่อมไม่เป็นผู้ฉลาด จะเก็บฝังทรัพย์ที่ได้มาลงไว้ใน ทักขิไณยบุคคล คือ ไม่ชำระทางไปสู่ปรโลก.
จบ อรรถกถาโจรสูตรที่ ๔