พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ยสสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39663
อ่าน  351

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 680

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สติวรรคที่ ๔

๖. ยสสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 680

๖. ยสสูตร

[๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกสัมพีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงพราหมณคาม แห่งชนชาวโกศล ชื่ออิจฉานังคละ. ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้พราหมณคาม ชื่ออิจฉานังคละ.

พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยะตระกูล เสด็จถึง บ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้ พราหมณคามชื่ออิจฉานังคละ ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดม พระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ ก็การได้เห็น พระอรหันต์ เห็นปานฉะนี้ เป็นการดีแล ครั้งนั้น พวกพราหมณ์ และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ. เมื่อล่วงราตรีนั้นไป พากันถือ ของเคี้ยวของกินเป็นจำนวนมาก เข้าไปทางไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ครั้นแล้วได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียงอื้ออึงอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก.

สมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระนาคิตะว่า ดูก่อนนาคิตะ ก็พวกใครที่ส่งเสียงอื้ออึงอยู่นั้นคล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และ คฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละเหล่านี้ พากันถือของเคี้ยวของกิน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 681

เป็นจำนวนมาก มายืนชุมนุมกันอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์.

พ. ดูก่อนนาคิตะ เธออย่าติดยศ และยศก็อย่าติดเรา ดูก่อน นาติตะ ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่ วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ผู้นั้นชื่อว่าพึงยินดี สุขอันไม่สะอาด สุขในการหลับนอน และสุขที่อาศัยลาภสักการะ และการสรรเสริญ.

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับ ขอพระสุคตจงทรงรับ บัดนี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปทางใดๆ พราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท ก็จักหลั่งไหลไปทางนั้นๆ เปรียบ เหมือนฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำก็ย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีศีลและปัญญา.

พ. ดูก่อนนาคิตะ เธออย่าติดยศ และยศอย่าติดเรา ดูก่อน นาคิตะ ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่ วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ผู้นั้นชื่อว่าพึงยินดี ความสุขที่ไม่สะอาด สุขในการหลับนอน และสุขที่อาศัยลาภ สักการะและการสรรเสริญ ดูก่อนนาคิตะ แม้เทวดาบางพวกก็ไม่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 682

พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิด แต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัส ที่เราพึงได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูก่อนนาคิตะ แม้เธอทั้งหลายมาประชุม พร้อมหน้ากัน ประกอบการอยู่ด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อม มีความเห็นอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่ เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก แน่นอน ก็ความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะ ท่านเหล่านี้มาประชุมพร้อมหน้ากัน ประกอบการอยู่ด้วยการ คลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ดูก่อนนาคิตะ เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรม วินัยนี้ ใช้นิ้วจี้เล่นกระซิกกระซี้กันและกันอยู่ เรานั้นมีความคิด อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดย ไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอัน เกิดแต่วิเวก สุขขึ้นเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เรา พึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก แน่นอน ความ จริงเป็นอย่างนั้น เพราะท่านเหล่านี้มัวใช้นิ้วจี้เล่นกระซิกกระซี้ กันและกันอยู่.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ฉัน อาหารเต็มท้องพอความต้องการแล้ว มัวประกอบด้วยความสุขใน การนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 683

ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่ วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แน่นอน ความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะท่านเหล่านี้ฉันอาหารเต็มท้องพอความ ต้องการแล้ว มัวประกอบความสุขในการนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่.

ดูก่อนนาคิตะ เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ นั่งสมาธิอยู่ที่ วิหารใกล้บ้าน เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ คนวัดหรือสมณุเทส จักบำรุงท่านผู้นี้ ทำให้เธอไปจากสมาธินั้นเสีย เพราะเหตุนั้น เรา จึงไม่พอใจแล้ว การอยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ นั่งโงกง่วงอยู่ ในป่า เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้นี้พอบรรเทาความ ลำบากในการนอนหลับนี้ได้แล้ว จักกระทำความสำคัญว่าอยู่ในป่า ไว้ในไจได้ประมาณเท่านี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ ในป่าของภิกษุนั้น.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ นั่งไม่เป็นสมาธิ อยู่ในป่า เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งมั่นจิต ที่ยังไม่ตั้งมั่น หรือจักตามรักษาจิตที่ตั้งมั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น เรา จึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือการอยู่ป่า นั่งสมาธิอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิต ที่ยังไม่หลุดพ้น หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 684

เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น. ดูก่อนนาคิตะ สมัยใด เราเดินทางไกลไม่เห็นอะไรๆ ข้างหน้า ข้างหลังสมัยนั้น เรามีความผาสุก โดยที่สุดการถ่ายอุจาระปัสสาวะ.

จบ สมณสูตรที่ ๖

อรรถกถายสสูตรที่ ๖

ยสสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มา จ มยา ยโส ความว่า ยศอย่าไปกับเราเลย. บทว่า อกสิราลาภี ได้แก่ ได้อย่างไพบูลย์. บทว่า สีลปญฺาณํ ได้แก่ ศีล และความรู้ทั่วไป. บทว่า สงฺคมฺม แปลว่า ประชุมแล้ว. บทว่า ิสมาคมมฺ แปลว่า มาประชุมกันแล้ว. บทว่า สงฺคณิกวิหารํ แปลว่า การอยู่คลุกคลีด้วยหมู่. บทว่า นห นูนเม ตัดเป็น น หิ นูน อิเม บทว่า ตถา หิ ปนเม ตัดบทเป็น ตถา หิ ปน อิเม. บทว่า องฺคุลิปโฏทเกน ได้แก่ ด้วยเอานิ้วมือทำต่างด้ามปฏักแล้วจี้. บทว่า สํชคฺฆนฺเต ได้แก่ หัวเราะกันดัง. บทว่า สงฺกีฬนฺเต ได้แก่ ทำการแหย่เย้ากัน.

จบ อรรถกถายสสูตรที่ ๖