๙. ปฏิสารณียสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 689
วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
สติวรรคที่ ๔
๙. ปฏิสารณียสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 689
๙. ปฏิสารณียสูตร
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงพระทำ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ๑ พยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ด่า บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกจากคฤหัสถ์ ทั้งหลาย ๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ ติเตียนพระธรรม ๑ ติเตียน พระสงฆ์ ๑ ไม่ยังคำรับต่อคฤหัสถ์ที่ชอบธรรมให้เป็นจริง ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงกระทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล.
[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุไม่พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ๑ ไม่พยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้ แตกจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๑ สรรเสริญ พระธรรม ๑ สรรเสริญพระสงฆ์ ๑ และยังคำรับต่อคฤหัสถ์ที่ชอบ ธรรมให้เป็นจริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงระงับ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล.
จบ ปฏิสารณียสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 690
อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ ๙
ปฏิสารณียสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺมิกญฺจ คิหิปฏิสฺสวํ ความว่า เมื่อคฤหัสถ์ อาราธนาว่า ท่านอยู่เสียในที่นี้แหละตลอดไตรมาสนี้ ก็รับคำ โดยนัยเป็นต้นว่า จบเป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่าปฏิสวะรับคำ. บทว่า น สจฺจาเปติ ได้แก่ ไม่กระทำคำสัตย์ คือกล่าวให้คลาดเคลื่อน.
จบ อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ ๙