พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สามัญญวรรคที่ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39668
อ่าน  409

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 693

สามัญญวรรคที่ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 693

สามัญญวรรคที่ ๕

นางโพชฌา นางสิริมา นางปทุมา นาง มนุชา นางอุตตรา นางมุตตา นางเขมา นางรุจี นางจุนที นางพิมพี นางสุมนา นางมัลลิกา นาง ติสสมาตา นางโสณมาตา นางกาณมาตา นาง อุตตรมาตา นางวิสาขามิคารมาตา นางขุชชุตตราอุปาสิกา สามาวตีอุปาสิกา นางสุปปวาสาโกฬินธีตา นางสุปปิยาอุปาสิกา นางนกุลมาตาคหปตานี.

จบ สามัญญวรรคที่ ๕

[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ผู้มีรูปสัญญาในภายใน ย่อมเธอรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกหาประมาณมิได้ ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 694

ผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้น แล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายใน ภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมี ความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกหาประมาณ มิได้ ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาใน ภายในเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสง สว่างเขียว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลาย แล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายใน ภายนอกเหลือง มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ย่อมมี ความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ย่อมมีความสำคัญ อย่างนี้ว่า เราครอบงำ รูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูป ทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว ย่อม มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน ย่อมเห็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 695

รูปทั้งหลายในภายนอก ๑ ย่อมน้อมใจเชื่อว่างาม ๑ เพราะล่วงรูป สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการ ถึงนานัตตสัญญา ย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการ ทั้งปวง ย่อมเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าอะไรๆ ย่อมไม่มี ๑ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญาตนะ ๑ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ.

[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อ สละคืนซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ.

จบ อัฏฐกนิบาต

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 696

เบื้องหน้าแต่นี้ไป ในคำว่า อถโข โพชฺฌา อุบาสิกา ดังนี้ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะอุโบสถกรรมอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เท่านั้น สำหรับอุบาสิกามีจำนวนเท่านี้ คือ โพชฌาอุบาสิกา สิริมาอุบาสิกา ปทุมาอุบาสิกา สุธรรมาอุบาสิกา มนุชาอุบาสิกา อุตราอุบาสิกา มุตตาอุบาสิกา เขมาอุบาสิกา รุจีอุบาสิกา จุนทีราชกุมารี พิมพีอุบาสิกา สุมนาราชกุมารี มัลลิกาเทวี ติสสมาตาอุบาสิกา โสณาอุบาสิกา โสณามาตาอุบาสิกา กาณามาตาอุบาสิกา อุตตรานันทมารดา วิสาขามิคารมารดา ขุชชุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา สุปปวาสาโกลิยธิดา สุปปิยาอุบาสิกา นกุลมาตาคหปตานี. อันผู้ปรารถนาพึงกล่าว ให้พิสดารเถิด. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบ มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

รวมวรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสถ์

๑. สันธานวรรค ๒. วาลวรรค ๓. ยมกวรรค ๔. สติวรรค ๕. สามัญญวรรค

จบ อัฏฐกนิบาต