พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. นันทกสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรบําเพ็ญให้บริบูรณ์และอานิสงส์การแสดงธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39672
อ่าน  408

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 713

ปัณณาสก์

สัมโพธวรรคที่ ๑

๔. นันทกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรบําเพ็ญให้บริบูรณ์และอานิสงส์การแสดงธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 713

๔. นันทกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์และอานิสงส์การแสดงธรรม

[๒๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระนันทกะชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ในอุปัฏฐานศาลา.

ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับยืนรอจนจบกถาอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้นทางทราบว่ากถาจบแล้ว ทรงกระแอม และเคาะที่ลิ่มประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับ นั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดูก่อน นันทกะ ธรรมบรรยายของเธอนี่ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืน รอฟังจนจบกถาอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกย่อมเมื่อยหลัง.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะ รู้สึกเสียใจ สะดุ้งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกแล้ว แม้คำ ประมาณเท่านี้ ก็ไม่พึงแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์เลย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ท่านพระนันทกะเสียใจ จึงตรัสกะท่าน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 714

พระนันทกะว่า ดีแล้วๆ นันทกะ ข้อที่เธอทั้งหลายพึงสนทนาด้วย ธรรมีกถานี้ สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็น บรรพชิตด้วยศรัทธา ดูก่อนนันทกะ เธอทั้งหลายผู้ประชุมกันพึง ทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถาหรือดุษณีภาพของพระอริยะ ดูก่อน นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล. อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่ บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้ มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิ ในภายใน อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญ องค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิในภายใน เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ได้เจโตสมาธิในภายใน เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน แต่ยังไม่ได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนนันทกะ เปรียบเหมือนสัตว์ ๒ เท้าหรือ ๔ เท้า แต่เท้าข้างหนึ่งของมันเสีย พิการไป อย่างนี้มันชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ฉันใด ดูก่อนนันทกะ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และ ได้เจโตสมาธิในภายใน แต่ยังไม่ได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึง บำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงมี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 715

ศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนนันทกะ เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น พระผู้- มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจาก อาสนะเข้าไปยังพระวิหาร.

ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ สิ้นเชิงด้วยบท ๔ แล้ว เสด็จลุจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญ องค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล เมื่อใดแลภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่า เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและ มีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิในภายใน ฯลฯ อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่ บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา ได้เจโตสมาธิในภายใน และ ได้การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้ มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 716

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ ภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม... แก่ ภิกษุทั้งหลายด้วยประการใดๆ เธอย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของ พระศาสดานั้นๆ เป็นที่เคารพสรรเสริญ ด้วยประการนั้นแล นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรม ตามกาล.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ เธอย่อมซาบซึ้งอรรถ และซาบซึ้งธรรมในธรรม นั้นด้วยประการนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟังธรรม ตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ เธอย่อมแทงตลอดบทแห่งอรรถอันลึกซึ้งในธรรม นั้น เห็นด้วยปัญญา ด้วยประการนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการฟังธรรมตามกาลในการสนทนาธรรมตามกาล.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 717

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม.... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญด้วย ประการนั้นๆ ยิ่งขึ้นไปว่า ท่านผู้นี้บรรลุ แล้วหรือ กำลังบรรลุ เป็นแน่ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาล ใน การสนทนาธรรมตามกาล.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประการพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่านกลาง งามในที่สุด ประการพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ ใดๆ ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตน แล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมประกอบธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ในการฟัง ธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 718

อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ๕ ประการนี้.

จบ นันทกสูตรที่ ๔

อรรถกถานันทกสูตรที่ ๔

นันทกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปฏฺานสาลายํ ได้แก่ หอฉัน. บทว่า เยนุปฏฺานสาลา ความว่า พระศาสดาสดับเสียงการแสดงธรรมอันพระนันทกเถระ เริ่มแล้วด้วยเสียงอันไพเราะ จึงตรัสถามว่า อานนท์ นั่นใครแสดง ธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ ในอุปัฏฐานศาลา ทรงสดับว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญวันนี้เป็นวาระของพวกนันทกเถระผู้เป็นธรรมกถึก ได้ตรัสว่า อานนท์ ภิกษุนั่นแสดงธรรมไพเราะยิ่งนัก แม้เราจักไป ฟังดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปยังอุฏฐานศาลา. บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา พหิทฺวารโกฏฺเก อฏฺาสิ ได้แก่ ทรงปิดบังฉัพพัณณรังสีไว้ในกลีบ จีวรแล้ว ประทับยืนด้วยเพศที่ควรไม่รู้จัก. บทว่า กถาปริโยสานํ อาคมยมาโน ความว่า ประทับยืนฟังธรรมกถาอยู่ถึงกถาสุดท้ายนี้ว่า อิทมโวจ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถวายสัญญาแด่ พระศาสดาเมื่อเลยปฐมยามไปแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฐมยามล่วงไปแล้ว พระองค์ทรงพักผ่อนสักหน่อย ดังนี้. พระศาสดา ประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ครั้นต่อมา เมื่อเลยมัชฌิมยามไปแล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ทรงเป็นขัตติยสุขุมาลชาติโดยปกติ ทรงเป็นพุทธสุขุมาลชาติ ทรงเป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 719

สุขุมาลชาติอยางยิ่ง แม้มัชฌิมยามก็ล่วงไปแล้ว ขอจงทรงพักผ่อน สักครู่เถิดดังนี้. พระศาสดาประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง. รุ่งอรุณ ปรากฏแล้วแก่พระศาสดาพระองค์นั้น ผู้ทรงประทับยืนอยู่นั่นแล. อรุณขึ้นก็ดี การจบกถาถึงบทว่า อิทมโวจ ของพระกถาก็ดี การ เปล่งฉัพพรรณรังสีของพระทศพลก็ดี ได้มีคราวเดียวกันนั่นเอง. บทว่า อคฺคฬํ อาโกเฏสิ ได้แก่ ทรงเอาปลายพระนขา เคาะ บานประตู.

บทว่า สารขฺชายมานรูโป ได้แก่ ระอา เกรงกลัว หวาดหวั่น ส่วนพระนันทกเถระนั้น ไม่มีความหวาดสะดุ้งด้วยความเสียใจ. บทว่า เอตฺตกํปิ โน นปฺปฏิภาเสยฺย ความว่า ผู้ได้ปฏิสัมภิทา ชื่อว่า หมดปฏิภาณ ย่อมไม่มี. แต่ท่านแสดงว่า เราไม่พึงกล่าวคำประมาณ เท่านี้. บทว่า สาธุ สาธุ ได้แก่ ทรงร่าเริงกับการแสดงธรรมของ พระเถระ จึงได้ตรัสแล้ว. ก็ในข้อนี้มีความหมายดังนี้ว่า ธรรมเทศนา ท่านถือเอาความได้ดี และแสดงได้ดีแล้วดังนี้. บทว่า กุลปุตฺตานํ ได้แก่ กุลบุตรมีมรรยาท และกุลบุตรมีชาติตระกูล. บทว่า อรโย วา ตุณฺหีภาโว ได้แก่ ตรัสหมายเอาสมาบัติในทุติยฌาน.

บทว่า อธิปญฺญธมฺมวิปสฺสนาย ได้แก่ วิปัสสนาญาณ กำหนดสังขาร. บทว่า จุตปฺปาทโก ได้แก่เปรียบเหมือนสัตว์มี ม้า โค และลาเป็นต้น. บทว่า อิทํ วตฺวา ได้แก่ ตรัสธรรมนี้ประกอบ ด้วยองค์ ๔. บทว่า วิหารํ ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปสู่พระคันธกุฏี.

บทว่า กาเลน ธมฺมสฺสวเน ได้แก่ ในการฟังธรรมตามกาละ. บทว่า ธมฺมสากจฺฉาย ได้แก่ ในการกล่าวถามกัน. บทว่า คมฺภีรํ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 720

อตฺถปทํ ได้แก่ อรรถที่ลุ่มลึก คือ ลี้ลับ. บทว่า ปญฺาย ได้แก่ มรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดด้วยการ พิจารณาก็ดี ปัญญาที่เกิดแต่การเยนและการสอบถามก็ดี ย่อม ควรทั้งนั้น. บทว่า ปตฺโต วา คจฺฉติ วา ความว่า เขาย่อมสรรเสริญ ด้วยความสรรเสริญคุณอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือจักบรรลุ อรหัตดังนี้. บทว่า อปฺปตฺตมานสา ได้แก่ ชื่อว่า อปฺปตฺตมานสา เพราะยังไม่บรรลุอรหัต หรือพวกภิกษุเหล่านั้นมีใจยังไม่บรรลุ อรหัตดังนี้ก็มี. ในบทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารํ นี้ ได้แก่ ธรรมเป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ย่อมควร.

จบ อรรถกถานันทกสูตรที่ ๔