พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เสวนาสูตร ว่าด้วยการมอง ๒ ฝ่าย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39674
อ่าน  366

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 725

ปัณณาสก์

สัมโพธวรรคที่ ๑

๖. เสวนาสูตร

ว่าด้วยการมอง ๒ ฝ่าย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 725

๖. เสวนาสูตร

ว่าด้วยการมอง ๒ ฝ่าย

[๒๑๐] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึง ทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้จีวรก็ควรทราบ โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้บิณฑบาตก็ควร ทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้เสนาสนะ ก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้คามนิคม ก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้ชนบท และประเทศก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบ โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว ในบุคคล ๒ จำพวก พึงรู้บุคคลใดว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม บริขารแห่งชีวิตเหล่าใด แล คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อันเราผู้เป็นบรรพชิตพึงรวบรวมไว้ บริขารแห่งชีวิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และเราออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ แห่งความเป็นสมณะใด ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะของเรานั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคล นั้นรู้ในกลางคืน ก็ไม่ต้องลา พึงหลีกไปเสียในกลางวัน ไม่พึงติดตาม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 726

บุคคลนั้น พึงรู้บุคคลใดว่า เมื่อเราเสพบุคคลผู้นี้ อกุศลธรรมย่อม เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ก็แลบริขารแห่งชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อันเราผู้เป็น บรรพชิตพึงรวบรวมไว้ บริขารแห่งชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดย ไม่ยาก และเราออกบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์แห่งความเป็น สมณะใด ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะของเรานั้น ย่อมถึงความ ปริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลนั้นรู้แล้ว พึง ติดตามไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงหลีกเลี่ยงไปเสีย พึงรู้บุคคลใดว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ และบริขารแห่งชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อันเราผู้เป็นบรรพชิตพึงรวบรวมไว้ บริขารแห่งชีวิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ยาก และเราออกบวช เป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นสมณะใด ประโยชน์แห่ง ความเป็นสมณะของเรานั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลนั้นแม้ถูกขับไล่ก็พึงติดตามบุคคลนั้น ไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงหลีกเลี่ยงไปเสีย คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้จีวรก็พึงทราบ โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไรกล่าว แล้ว ในจีวร ๒ อย่าง พึงรู้จีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรม ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม จีวรเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ พึงรู้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 727

จีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อม เจริญ จีวรเห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้จีวรก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า แม้บิณฑบาตก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ใน บิณฑบาต ๒ อย่างนี้ พึงรู้บิณฑบาตใดว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม บิณฑบาตเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ พึงรู้บิณฑบาตใดว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้ อกุศลธรรม ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ บิณฑบาตเห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้บิณฑบาตก็พึงทราบ โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า แม้เสนาสนะก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น พึงรู้เสนาสนะใดว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้ อกุศลธรรม ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม เสนาสนะเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ พึงรู้เสนาสนะใดว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เสนาสนะเห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้เสนาสนะก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 728

ก็คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้คามนิคมก็พึง ทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ในคามนิคม ๒ อย่างนั้น พึงรู้คามนิคมใดว่า เมื่อ เราเสพคามนิคมนี้ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม คามนิคมเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ พึงรู้คามนิคมใดว่า เมื่อเราเสพ คามนิคมนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ คามนิคม เห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้ คามนิคมก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้ชนบท และประเทศพึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้วในชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น พึงรู้ชนบทและประเทศใดว่า เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ชนบทและประเทศ เห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้ ชนบทและประเทศก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควร เสพก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

จบ เสวนาสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 729

อรรถกถาเสวนาสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในเสวนาสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชีวิตปริกฺขารา ได้แก่ เป็นสิ่งเกื้อกูลแก่ชีวิต. บทว่า สมุทาเนตพฺพา ได้แก่ บรรพชิต พึงรวบรวมไว้. บทว่า กสิเรน สมุทาหรนฺติ ได้แก่ ย่อมเกิดขึ้นได้โดยความลำบาก. ในบทว่า รตฺติภาคํ วา ทิวสภาคํ วา นี้ บุคคลนั้นรู้ในกลางคืน พึงหลีกไปเสีย ในกลางคืนทีเดียว เมื่ออันตรายมีสัตว์ร้ายเป็นต้นมีอยู่ในกลางคืน พึงรอถึงดวงอาทิตย์ขึ้น รู้ในกลางวัน พึงหลีกไปเสียในกลางวัน เมื่ออันตรายมีอยู่ในกลางวัน พึงรอถึงดวงอาทิตย์ตก. บทว่า สงฺขาปิ ได้แก่ รู้เหตุร้ายความเต็มด้วยภาวนาของความเป็นสมณะ. ส่วน บท โส ปุคฺคโล พึงสัมพันธ์ด้วยบทนี้ว่า นานุพนฺธิตพฺโพ บทว่า อนาปุจฺฉา ความว่า แต่ในที่นี้ พึงหลีกไปไม่ต้องลาบุคคลนั้น. บทว่า อปิ ปนุชฺชมาเนน ได้แก่ ถูกคร่าออกไป. ก็บุคคลเห็นปานนี้ ลงโทษให้ยกมัดฟืนหนึ่งร้อย หม้อน้ำหนึ่งร้อย หรือหม้อทรายหนึ่งร้อย หรือให้ไล่ออกไปด้วยกล่าวว่า ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ แม้ให้ผู้นั้นขอโทษ แล้ว พึงติดตามคือไม่พึงทอดทิ้งบุคคลนั้นไปตลอดชีวิต

จบ อรรถกถาเสวนาสูตรที่ ๖