พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สุตวาสูตร ว่าด้วยฐานะที่พระอรหันต์ไม่ล่วงละเมิด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39675
อ่าน  344

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 730

ปัณณาสก์

สัมโพธวรรคที่ ๑

๗. สุตวาสูตร

ว่าด้วยฐานะที่พระอรหันต์ไม่ล่วงละเมิด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 730

๗. สุตวาสูตร

ว่าด้วยฐานะที่พระอรหันต์ไม่ล่วงละเมิด

[๒๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา คิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล สุตวาปริพาชกเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งข้าพระองค์และพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ที่เมืองคิริพชะ ใกล้กรุงราชคฤห์นี่แหละ ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ ได้สดับรับฟังเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนสุตวะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระแล้วมีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๕ ประการ คือ ภิกษุผู้ขีณาสพไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของไม่ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ ไม่ควรเสพเมถุน ธรรม ๑ ไม่ควรกล่าวเท็จทั้งรู้ ๑ ไม่ควรทำการสั่งสมบริโภค กามคุณเหมือนเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำนี้ข้าพระองค์ฟังมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงทำไว้ ดีแล้ว และหรือ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 731

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จริงละ คำนี้ท่านสดับมาดีแล้ว รับเอามาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูก่อนสุตวะ ครั้ง ก่อนและบัดนี้ เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว มี ประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบ สัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ คือภิกษุผู้ขีณาสพ ไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อันเป็น ส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ ไม่ควรเสพเมถุนธรรม ๑ ไม่ควรกล่าว เท็จทั้งรู้ ๑ ไม่ควรทำการสั่งสมบริโภคกามคุณเหมือนคฤหัสถ์ ในกาลก่อน ๑ ไม่ควรลุอำนาจฉันทาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจโทสาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจโมหาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจภยาคติ ๑ ดูก่อน สุตวะ ครั้งก่อนและบัดนี้ เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง ภาระแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่อง ประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการนี้.

จบ สุตวาสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 732

อรรถกถาสุตวาสูตร

สุตวาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺจ านานิ อชฺฌาจริตุํ ได้แก่ ภิกษุไม่ควรล่วงเหตุ ๕. บทว่า ปาณํ ได้แก่ โดยที่สุดมดดำมดแดง. บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ของผู้อื่นโดยที่สุดแม้เส้นหญ้า. บทว่า เถยฺยสงฺขาตํ ได้แก่ แม้มี จิตขโมย. บทว่า สนฺนิธิการกํ กาเม ปริภุญฺชิตุํ ได้แก่ ไม่ควรทำการ สั่งสอนคือ เว้นบริโภควัตถุกามและกิเลสกาม. ข้อนั้น ท่านกล่าว หมายเอากามคุณซึ่งเป็นอกัปปิยะ (ไม่ควร). บทว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขาตุํ ได้แก่ เพื่อห้ามอย่างนี้ว่า คนนี้มิใช่เป็นพุทธะดังนี้. แม้ในธรรม เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ข้อนั้นมาแล้วในอรรถกถาก่อนอย่างนี้ ส่วนในสูตรนี้กล่าวถึงความไม่ลำเอียง.

จบ อรรถกถาสุตวาสูตรที่ ๗