พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. วุฏฐิสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้เจริญกายคตาสติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39679
อ่าน  383

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 738

ปัณณาสก์

สีหนาทวรรคที่ ๒

๑. วุฏฐิสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้เจริญกายคตาสติ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 738

สีหนาทวรรคที่ ๒

๑. วุฏฐิสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้เจริญกายคตาสติ

[๒๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถีแล้ว ข้าพระองค์ปรารถนา จะหลีกจาริกไปในชนบท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอจงสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป.

ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุ รูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ หลีกจาริกไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อน ภิกษุ เธอจงมานี่ จงไปเรียกสารีบุตรตามคำของเราว่า ดูก่อนอาวุโส สารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 739

กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร พระศาสดารับสั่ง ให้หาท่าน ท่านพระสารีบุตรรับคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระอานนท์ ถือลูกดานเที่ยว ประกาศไปตามวิหารว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรีบออกเถิดๆ บัดนี้ท่านพระสารีบุตรจะบันลือสีหนาทเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้ กล่าวหาเธอว่า ข้าแต่ พระองค์เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ ขอโทษหลีกจาริกไปแล้ว.

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไป ตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ในธรรมวินัยนี้ ไม่ขอโทษแล้ว พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ชนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ลงบน แผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยแผ่นดินอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 740

ภิกษุนั้น กระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้. แล้วไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์เจริญ ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิต บ้าง ลงในน้ำ น้ำก็ไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยน้ำอันไพบูลย์กว้าง ใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้น กระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฟย่อมเผาของสะอาดบ้าง ไม่สะอาด บ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ไฟย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยไฟอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่ มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ เพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึง หลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลมย่อมพัดซึ่งของสะอาดบ้าง ไม่ สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ลมย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ ก็เหมือนกันฉันนั้นแล มีใจเสมอด้วยลมอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 741

ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ เพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าสำหรับเช็ดธุลี ย่อมชำระของ สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง สูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนอง บ้าง โลหิตบ้าง ผ้าเช็ดธุลีย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วย สิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยผ้า สำหรับเช็ดธุลีอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อัน ภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์ รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารหรือกุมาริกาของคนจัณฑาล ถือตะกร้า นุ่งผ้าเก่าๆ เข้าไปยังบ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อม เข้าไป แม้ฉันใด เข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วย กุมารหรือกุมาริกาของคนจัณฑาล อันไพบูลย์กว้างใหญ่ ไม่มี ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ เพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคเขาขาด สงบเสงี่ยม ได้รับฝึกดีแล้ว ศึกษาดีแล้ว เดินไปตามถนนหนทาง ตามตรอกเล็กซอกน้อย ก็ไม่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 742

เอาเท้าหรือเขากระทบอะไรๆ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เพื่อนกันแล มีใจเสมอด้วยโคเขาขาด อันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มี ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึง หลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาว เป็นคน ชอบประดับตบแต่ง พึงอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยซากศพงู หรือ ซากศพสุนัขที่เขาผูกไว้ที่คอแม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แล ย่อมอึดอัดระอาและเกลียดชังด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนประคองภาชนะมันข้น มีรูทะลุ เป็นช่องเล็กช่องใหญ่ ไหลเข้าไหลออกอยู่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมบริหารกายนี้มีรูทะลุเป็นช่องเล็กช่องน้อย ใหญ่ ไหลเข้าไหลออกอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อัน ภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์ รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกไปเป็นแน่.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 743

ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคนไม่ฉลาดอย่างไร ที่ข้าพระองค์ได้กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตร ด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงโปรดรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความ สำรวมต่อไปเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ โทษได้ ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล คนหลง ไม่ฉลาดอย่างไร ที่เธอได้กล่าวตู่ สารีบุตรด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอ เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว กระทำคืนตามธรรม เราย่อมรับ โทษของเธอนั้น ดูก่อนภิกษุ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญ ในวินัยของพระอริยเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ ท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอจงอดโทษต่อโมฆบุรุษ ผู้นี้ มิฉะนั้น เพราะโทษนั้นนั่นแล ศีรษะของโมฆบุรุษนี้จักแตก ๗ เสี่ยง.

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมอดโทษต่อท่าน ผู้มีอายุนั้น ถ้าผู้มีอายุนั้น กล่าวกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ขอท่าน ผู้มีอายุนั้นจงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วย.

จบ วุฏฐิสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 744

สีหนาทวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาวุฏิสูตร

วุฏฐกิสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ท่านพระสารีบุตร คิดว่า ถ้าพระศาสดา ทรงประสงค์จะหลีกไปสู่ที่จาริก พึงทรง หลีกไปในกาลนี้. เอาเถิดเราจะทูลลาพระศาสดาเพื่อไปสู่ที่จาริก ดังนี้ เป็นผู้อันหมู่ภิกษุห้อมล้อมเข้าไปเฝ้าแล้ว. บทว่า อายสฺมา นํ ภนฺเต ความว่า. นัยว่าภิกษุนั้น เห็นพระเถระมาด้วยภิกษุบริวาร เป็นอันมาก คิดว่า พวกภิกษุเหล่านี้ทิ้งพระตถาคตแล้ว ออกไป แวดล้อมพระสารีบุตร เราจักทูลห้ามการไปของพระเถระนั้นเสีย ดังนี้ ผูกความโกรธโดยมิใช่ฐานะ จึงได้กราบทูลแล้วอย่างนั้น. บทว่า ตตฺถ อาสชฺช ได้แก่ กระทบ. บทว่า อปฺปฏินิสฺสชฺช ได้แก่ ไม่ขอโทษ คือไม่แสดงความผิด. ถามว่า ก็ภิกษุนั้น ผูกอาฆาต ในเพราะเหตุอะไร? ตอบว่า ชายจีวรของพระเถระผู้กำลังลุกขึ้น ไปไหว้พระทศพลถูกตัวของภิกษุนั้นเข้า. บางท่านกล่าวว่า ลมพัด ไปถูกเอาดังนี้ก็มี. ท่านผูกอาฆาตด้วยเหตุประมาณเท่านี้แล้ว เมื่อได้เห็นพระเถระไปด้วยบริวารเป็นอันมากเกิดริษยา จึงได้ กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทูลห้ามการไปของพระเถระนั้นเสียดังนี้.

บทว่า เอหํ ตฺวํ ภิกฺขุ ความว่า พระศาสดาสดับคำของ ภิกษุนั้นแล้ว ทรงรู้ว่า เมื่อใครพูดค้านว่า พระสารีบุตรมิได้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 745

ประหารภิกษุนั้น เธอจะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ เข้าข้างฝ่ายของพระอัครสาวกของพระองค์อย่างเดียว มิได้เข้าข้าง ข้าพระองค์ดังนี้ พึงเจ็บใจในเราแล้วเกิดในอบายดังนี้ ได้ตรัส สั่งกะภิกษุรูปหนึ่งว่า ให้เรียกสารีบุตรมา เราจักถามเรื่องนี้ ดังนี้ จึงได้ตรัสแล้วอย่างนี้.

บทว่า อปาปุรณํ อาทาย ได้แก่ ถือกุญแจ. บทว่า สีหนาทํ ได้แก่ บันลือประเสริฐเฉพาะพระพักตร์ ไม่เปลี่ยนแปลง ภิกษุสงฆ์ อันพระมหาเถระทั้งสองรูปประกาศแล้วอย่างนี้ ก็พากันลา ทิ้งที่พัก กลางคืนและที่พักกลางวัน ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา. บทว่า ขียธมฺมํ ได้แก่ ธรรมกถา. บทว่า คูถคตํ คือ คูถ. ถึงในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปฐวีสเมน ได้แก่ ชื่อว่ามีใจเสมอด้วยแผ่นดิน เพราะ ไม่โกรธ เพราะไม่ประทุษร้าย. แท้จริง แผ่นดิน จะไม่ทำความ ทุกข์ใจว่า ชนทั้งหลายทิ้งของสะอาดลงบนเราดังนี้ จะไม่ทำความ ทุกข์ใจว่า ชนทั้งหลายทิ้งของไม่สะอาดลงดังนี้ ท่านแสดงว่า ถึง จิตของข้าพระองค์ ก็เห็นปานนั้น. บทว่า วิปูเลน ได้แก่ ไม่น้อย. บทว่า มหคฺคตน ได้แก่ ถึงความกว้างใหญ่. บทว่า อปฺปมาเณน ได้แก่ ขยายออกไปได้ไม่มีประมาณ. บทว่า อเวเรน ได้แก่ เว้น แล้วจากเวรต่ออกุศลและเวรต่อบุคคล. บทว่า อพฺยาปชฺเฌน ได้แก่ ไม่มีทุกข์ คือ ปราศจากโทมนัส. บทว่า โส อิธ ได้แก่ ภิกษุนั้น เป็นผู้มีกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว พึงกระทำ อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้เป็นเช่นข้าพระองค์ จักทำ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 746

กรรมเห็นปานนั้นได้อย่างไรดังนั้น ท่านจึงบันลือแล้วซึ่งสีหนาท เป็นครั้งแรก. พึงทราบการประกอบในบททั้งปวงอย่างนี้.

บทว่า รโชหรณํ ได้แก่ ราชตระกูลพวกเขาไม่กวาดด้วย ไม้กวาด แต่พวกเขาเช็ดด้วยท่อนผ้า. นั่นเป็นชื่อของรโชหรณะ (ผ้าเช็ดธุลี). บทว่า กโฬปิหตฺโถ ได้แก่ เป็นผู้มีมือถือตะกร้า หรือ ถือหม้อข้าว. บทว่า นนฺติกวาสี ได้แก่ เป็นผู้นุ่งผ้าเก่าชายขาด. บทว่า สุรโต ได้แก่ เป็นผู้มีปกติแจ่มใสประกอบด้วยความสงบ เสงี่ยม. บทว่า สุทนฺโต ได้แก่ ได้รับการฝึกดีแล้ว. บทว่า สุสิกฺขิโต ได้แก่ เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว. บทว่า น กญฺจิ หึสติ ได้แก่ ไม่เบียดเบียน ใครๆ แม้จะจับที่เขาเป็นต้น แม้จะลูบคลำหลัง. บทว่า อุสภจฺ- ฉินฺนวิสาณสาเมน ได้แก่ เช่นกับจิตของโคุสภะเขาขาด.

บทว่า อฏฺฏิเยยฺย ได้แก่ พึงเป็นผู้มีอาการคือ ถูกเบียดเบียน บทว่า หราเยยฺย ได้แก่ ละอาย. บทว่า ชิคุจฺเฉยฺย ได้แก่ ถึงความ เกลียดชัง. บทว่า เมทกถาลิกํ ได้แก่ ภาชนะที่บุคคลทำไว้สำหรับ สุนัขเจาะเป็นรูไว้ในที่นั้นๆ เพื่อการไหลออกของน้ำแกง เรียก ภาชนะมันข้น. บทว่า ปริหเรยฺย ได้เก่ คนพึงบรรจุให้เต็มด้วยเนื้อ แล้วยกขึ้นเดินไป. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺทํ ได้แก่ ประกอบด้วยช่องน้อย ช่องใหญ่. บทว่า อคุฆรนฺตํ ได้แก่ น้ำแกงไหลลงทางรูที่เป็นช่อง ข้างบน. บทว่า ปคฺฆรนฺตํ ได้แก่ น้ำแกงไหลออกทางรูที่เป็นช่อง ข้างล่าง. ร่างกายทั้งสิ้นของเขาพึงเปื้อนด้วยน้ำแกงด้วยอาการ อย่างนี้. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺทํ ได้แก่ เป็นช่องน้อยช่องใหญ่จาก

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 747

ปากแผลทั้ง ๙. ในข้อนี้ พระเถระกล่าวแล้วซึ่งความที่ตนไม่มี ฉันทราคะในร่างกาย ด้วยองค์ที่แปดหรือที่เก้าด้วยอาการอย่างนี้

บทว่า อถ โข โส ภิกฺขุ ความว่า ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้น เมื่อพระเถระบันลือสีหนาทด้วยเหตุเก้าอย่างนี้แล้ว. บทว่า อจฺจโย ได้แก่ ความผิด. บทว่า มํ อจฺจคมา ได้แก่ ข้าพเจ้ายอมรับ (โทษ) ที่ได้เป็นไปแล้ว. บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ได้แก่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงโปรดอดโทษด้วยเถิด. บทว่า อายตึ สํวราย ได้แก่ เพื่อความ สำรวมในอนาคต คือเพื่อไม่ทำความผิดเห็นปานนี้อีก.

บทว่า ตคฺฆ คือ โดยแน่นอน. บทว่า ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ได้แก่เธอได้ทำตามธรรมที่ตั้งอยู่แล้ว ท่านอธิบายว่า ให้เราอดโทษ ดังนี้. บทว่า ตนฺเต มยํ ปฏิคฺหคณฺหาม ความว่า เราจะไม่เอาความ ผิดนั้นกับเธอ. บทว่า วุฑฺฒิ เหสา ภิกฺขุ อริยสฺส วินเย ความว่า ดูก่อนภิกษุ นี้ชื่อว่าความเจริญในวินัยของพระอริยะ. คือในศาสนา ข้องพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถามว่า ความเจริญเป็นไฉน?. ตอบว่า การเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมถึงความ สำรวมต่อไป. ก็เมื่อพระเถระจะทำเทศนาให้เป็นปุคคลาธิฏฐาน จึงกล่าวว่า โย อจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรติ อายตึ สํวรํ อาปชฺชติ ดังนี้.

บทว่า ผลติ ความว่า ก็ถ้าพระเถระไม่พึงอดโทษไซร้ ศีรษะของภิกษุนั้นพึงแตกเจ็ดเสียงในเพราะโทษนั้นแล เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสอย่างนั้น. บทว่า สเจ มํ โส ความว่า ถ้าภิกษุนี้กล่าวกะข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ท่านอดโทษเถิด ดังนี้. บทว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 748

ขมตฺ จ เม โส ความว่า พระเถระยกโทษแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ด้วย คิดว่า ก็ท่านผู้มีอายุนี้อดโทษแก่ข้าพเจ้าดังนี้ ให้ภิกษุนั้นขอโทษ เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดาแม้ด้วยตนเองดังนี้.

จบ อรรถกถาวุฏฐิสูตรที่ ๑