พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สอุปาทิเสสสูตร ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล ๙ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39681
อ่าน  701

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 749

ปัณณาสก์

สีหนาทวรรคที่ ๒

๒. สอุปาทิเสสสูตร

ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล ๙ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 749

๒. สอุปาทิเสสสูตร

ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล ๙ จำพวก

[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผุ้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี.

ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรมีความ คิดดังนี้ว่า การเที่ยวไปบิณฑบาติในพระนครสาวัตถียังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่ง ประชุมสนทนากันในระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง ที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่ พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คันค้านถ้อยคำที่ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าว ครั้นแล้วลุกจาอาสนะ หลีกไปด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 750

ในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้า พระองค์ผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า การเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร สาวัตถี ยังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยัง อารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรสวนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ในระหว่าง ว่า ก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำ กาละ นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ พันจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ข้าพระองค์ ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่ว ถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกบ้างพวกโงเขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะ ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือจักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูก่อนสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ ที่เป็นสอุปาทิเสสะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 751

กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจาก เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูก่อน สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้น จากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

อีกประการหนึ่ง บุคคลคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำได้ บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูก่อน สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น เป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 752

เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้น เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะและ โมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้ ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคล นั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๗...

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้น เป็นโกลังโกละ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒ - ๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้น เป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำ กาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ดูก่อนสารีบุตร อัญญเดียรถีย์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 753

ปริพาชกบางคน โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูก่อนสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็น สุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด สัตว์. ดิรัจฉานพ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต.

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟัง ธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความอธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึง ความประมาท.

จบ สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒

อรรถกถาสอุปาทิเสสสูตร

สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สอุปาทิเสสํ ได้แก่ เป็นผู้ยังมีเบญจขันธ์เหลือ. บทว่า อนุปาทิเสสํ ได้แก่ เป็นผู้ไม่เหลืออุปาทาน คือหมดความยึดถือ. บทว่า มตฺตโสการี ได้แก่ เป็นผู้ทำพอประมาณ คือไม่ทำใหับริบูรณ์. บทว่า น ตาวายํ สาริปุตฺต ธมฺมปริยาโย ปฏิภาสิ ความว่า ก็ใน ข้อนี้ได้ความหมายดังนี้ว่า ธรรมดาความไม่แจ่มแจ้ง ย่อมไม่มี แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เราจักไม่กล่าวธรรมปริยายนี้ก่อน. บทว่า มายิมํ ธมฺมปริยายํ สุตฺวา ปมาทํ อาหรึสุ ความว่า บุคคลทั้งหลาย เมื่อไม่ทำความเพียรเพื่ออรหัตในเบื้องบน อย่างความประมาท

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 754

ด้วยเข้าใจว่า นัยว่าเราทั้งหลาย พ้นแล้วจากอบาย ๔ ดังนี้. บทว่า ปญฺหาธิปฺปาเยน ภาสิโต ท่านแสดงว่า เรากล่าวว่า เรา กล่าวตามปัญหาที่ท่านถามแล้วดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำเหตุนั้นเท่านั้นให้เกิด เพื่อ บรรเทาฉันทราคะในภพทั้งหลายของบุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล้ว จึงได้ตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูถแม้มีประมาณน้อย ย่อมมีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวซึ่ง ภพแม้มีประมาณน้อยโดยที่สุด แม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือฉันนั้นเหมือนกัน. มิใช่อย่างเดียว มิเป็นที่ไปของบุคคล ๙ จำพวกเหล่านั้นก็ติดต่อกัน. สรณะ ๓ ศีล ๕ สลากภัตหนึ่ง ปักขิกภัตหนึ่ง วัสสาวาสิกะหนึ่ง สระโบกขรณีหนึ่ง อาวาสหนึ่ง บุญที่เนื่องกันเห็นปานนี้ มีอยู่ แก่ตระกูลทั้งหลายเหล่าใด ทางดำเนินแม้ของตระกูลทั้งหลาย เหล่านั้นก็เนื่องกัน ตระกูลทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเช่นกับโสดาบัน บุคคลนั่นเอง.

จบ อรรถกถาสอุปาทิเสสสูตรที่ ๒