๕. คัณฑสูตร ว่าด้วยปากแผล ๙ แห่ง
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 765
ปัณณาสก์
สีหนาทวรรคที่ ๒
๕. คัณฑสูตร
ว่าด้วยปากแผล ๙ แห่ง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 765
๕. คัณฑสูตร
ว่าด้วยปากแผล ๙ แห่ง
[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝีที่เกิดขึ้นหลายปี ฝีนั้นพึงมีปากแผล ๙ แห่ง มีปากแผลที่ยังไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใด สิ่งหนึ่งจะพึงไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งพึงไหลเข้า สิ่งนั้นเป็น ของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น ฉันใด คำว่าฝีนี้แล เป็นชื่อของกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ มีมารดาบิดา เป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องลูบไล้นวดฟั้น มีความกระจัดกระจายเป็นธรรมดา กายนั้น มีปากแผล ๙ แห่ง มีปากแผลที่ยังไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงเบื่อหน่ายในกายนี้.
จบ คัณฑสูตรที่ ๕
อรรถกถาคัณฑสูตร
คัณฑสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สามปี สี่ปี ชื่อการนับปี. ชื่ออเนกวสฺสคณิโก เพราะอรรถ ว่า นั้นเกิดขึ้นแล้วนับได้หลายปี. บทว่า ตสฺสสฺสํ ตัดบทเป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 766
ตสฺส ภเวยฺยุํ แปลว่า พึงมีแก่ฝีนั้น. บทว่า อเภทนมุขานิ ความว่า มิใช่แตกเพราะถูกคนใดคนหนึ่งทำแล้ว แต่เป็นปากแผลที่เกิดแต่ กรรมอย่างเดียวแท้ๆ. บทว่า เชคุจฺฉิยํเยว ได้แก่ น่าเกลียดคือ เป็นของปฏิกูลทั้งนั้น. บทว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺส ได้แก่ กายสำเร็จ ด้วยมหาภูตรูป ๔. บทว่า โอทนกุมฺมาสุปจยสฺส ได้แก่ กายสะสม คือเจริญเติบโตแล้วด้วยข้าวสุกและขนมสด.
บทว่า อนิจฺจุจฺ ฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทฺธํสนธมฺมสฺส ความว่า มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ด้วยอรรถว่ามีแล้วไม่มี. มีการปกปิด เป็นธรรมดาด้วยการลูบไล้ เพื่อกำจัดกลิ่นเหม็น มีการนวดฟั้นเป็น ธรรมดา ด้วยแขนเพื่อบรรเทาความเจ็บไข้ที่อังคาพยพน้อยใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง ไม่เวลาเป็นหนุ่มมีการนวดฟั้นเป็นธรรมดา ด้วยการ ทายาและบีบเป็นต้น เพื่อให้อวัยวะน้อยใหญ่เหล่านั้นๆ ที่ตั้งอยู่ ไม่ดีสมบูรณ์ด้วยการให้นอนบนขาทั้งสองอยู่ในห้อง ก็มีความแตก ทำลายเป็นธรรมดา แม้บริหารแล้วอย่างนี้ อธิบายว่า มีความแตก กระจัดกระจายเป็นสภาพ ก็ในข้อนี้ ท่านกล่าวความดับแห่งกาย นั้น ด้วยบทว่าไม่เที่ยง และด้วยบทว่าแตกและทำลาย ท่านกล่าว ความเกิดด้วยบทที่เหลือ. บทว่า นิพฺพินทถ ท่านแสดงว่า เธอ ทั้งหลาย จงระอา คือละทิ้งกายนี้เสียเถิดดังนี้. ในสูตรนี้ ท่านกล่าว ถึงวิปัสสนามีกำลังด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาคัณฑสูตรที่ ๕