พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. กุลสูตร ว่าด้วยตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39686
อ่าน  378

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 768

ปัณณาสก์

สีหนาทวรรคที่ ๒

๗. กุลสูตร

ว่าด้วยตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 768

๗. กุลสูตร

ว่าด้วยตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ไม่ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วก็ไม่ ควรนั่ง องค์ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ต้อนรับด้วยความพอใจ ๑ ไม่ไหว้ด้วยความพอใจ ๑ ไม่ให้อาสนะด้วยความพอใจ ๑ ปิดบัง ของที่มีอยู่ ๑ ของมีมากให้น้อย ๑ มีของประณีตก็ให้ของเลว ๑ ให้ด้วยความไม่เคารพ ไม่ให้ด้วยความเคารพ ๑ ไม่นั่งใกล้เพื่อ ฟังธรรม ๑ ไม่ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ไม่ ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วก็ไม่ควรนั่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วควรนั่ง องค์ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ต้อนรับด้วยความพอใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พอใจ ๑ ให้อาสนะด้วยความพอใจ ๑ ไม่ปิดบังของที่มีอยู่ ๑ ของ มีมากก็ให้มาก ๑ มีของประณีตก็ให้ของประณีต ๑ ให้ด้วยความ เคารพ ไม่ให้ด้วยไม่เคารพ ๑ นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ๑ ยินดีภาษิต ของภิกษุนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วควรนั่ง.

จบ กุลสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 769

อรรถกถากุลสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในกุลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า น มนาเปน ปจฺจุปฏฺเนฺติ ความว่า ลุกจากอาสนะแล้ว ย่อมไม่ทำการต้อนรับด้วยความเจริญใจ คือโดยอาการติดใจ. บทว่า น มนาเปน อภิวาเทนฺติ ความว่า ย่อมไม่ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์. บทว่า อสกฺกจฺจํ เทนฺติ ความว่า ย่อมให้ด้วยความ ไม่นับถือ. บทว่า โน สกฺกจฺจํ ความว่า ย่อมไม่ให้ด้วยมือของตน. บทว่า น อุปนิสีทนฺติ ธมฺมสฺสวนาย ความว่า ย่อมไม่นั่งในที่ใกล้ ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักฟังธรรม. บทว่า น รสิยนติ ความว่า ย่อมไม่ยินดี คือย่อมไปไม่กลับเหมือนน้ำทีรดบนหลังตุ่มใหญ่ฉะนั้น.

จบ อรรถกถากุลสูตรที่ ๗