พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่เทวดามนุษย์ประเสริฐกว่ากัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39690
อ่าน  531

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 790

ปัณณาสก์

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๑. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่เทวดามนุษย์ประเสริฐกว่ากัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 790

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๑. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่เทวดามนุษย์ประเสริฐกว่ากัน

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป ประเสริฐ กว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือไม่มีทุกข์ ๑ ไม่มีความหวงแหน ๑ มีอายุแน่นอน ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป ประเสริฐกว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวก มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อายุทิพย์ ๑ วรรณทิพย์ ๑ สุขทิพย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่า พวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวก มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้กล้า ๑ เป็นผู้มีสติ ๑ เป็นผู้อยู่ ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาว-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 791

ชมพูทวีปประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.

จบ ฐานสูตรที่ ๑

สัตตาวาสรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาฐานสูตร

สัตตาวาสวรรคที่ ๓ ฐานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุตฺตรกุรุกา ได้แก่ คนทั้งหลาย ชาวอุตตรกุรุทวีป บทว่า อธิคณฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมเป็นใหญ่ คือเป็นผู้ยิ่ง เป็นผู้ประเสริฐ ผู้เจริญที่สุด. บทว่า อมฺมา ได้แก่ ไม่มีตัณหา. ส่วนในอรรถกถาท่าน กล่าวว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า อปริคฺคหา ได้แก่ เว้นความหวงแหนว่า สิ่งนี้ของเรา. บทว่า นิยตายุกา ความว่า ก็คนทั้งหลายเหล่านั้น มีอายุพันปีเท่ากันทั้งนั้น แม้คติก็เท่ากัน คนเหล่านั้น ตายจากนั้น แล้ว ย่อมเกิดในสวรรค์เท่านั้น. บทว่า สติมนฺโต ความว่า ก็พวก เทวดาย่อมมีสติไม่แน่นอน เพราะมีความสุขโดยส่วนเดียว. พวก สัตว์นรก ก็ไม่แน่นอน เพราะมีความทุกข์โดยส่วนเดียว. ส่วนคน เหล่านี้ชื่อว่ามีสติมั่นคงเพราะมีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนกันแล้ว. บทว่า อิธ พฺรหฺมจริยวาโส ความว่า แม้การอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์แปด ย่อมมีในที่นี้เท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้าและ พระปัจเจกพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในชมพูทวีป.

จบ อรรถกถาฐานสูตรที่ ๑