พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ตัณหาสูตร ว่าด้วยธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39692
อ่าน  476

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 798

ปัณณาสก์

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๓. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 798

๓. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหา เป็น ๙ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะ อาศัยตัณหา ๑ การได้เพราะอาศัยการแสวงหา ๑ การวินิจฉัย เพราะอาศัยการได้ ๑ ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย ๑ ความ หมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ ๑ ความหวงแหนเพราะอาศัยความ หมกมุ่น ๑ ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน ๑ การจัดการ อารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ ๑ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล หลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตรา การทะเลาะ การ แก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียว่ามึงๆ และพูดเท็จ ย่อม เกิดขึ้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ นี้แล.

จบ ตัณหาสูตรที่ ๓

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๓

ตัณหาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ ได้แก่ตัณหา ๒ อย่าง คือ เอสนตัณหา (ตัณหาในการแสวงหา) ๑ เอสิตตัณณหา (ตัณหาในการแสวงหาได้แล้ว) ๑. บุคคลเดินไปตามทางแพะและทางที่มีตอไม้เป็นต้น เสาะแสวง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 799

หาโภคะด้วยตัณหาใด ตัณหานี้ชื่อว่า เอสนตัณหา. ตัณหาใดเมื่อ บุคคลเสาะแสวงหาได้โภคะแล้ว ตัณหานี้ชื่อว่า เอสิตตัณหา. แต่ ในสูตรนี้พึงเห็นว่า ได้แก่ เอสนตัณหา. บทว่า ปริเยสนา ได้แก่ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็เมื่อ เอสนตัณหา มีอยู่การแสวง หานั้นก็ย่อมมี. บทว่า ลาโภ ได้แก่การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็เมื่อการแสวงหามีอยู่ การได้ก็ย่อมมี.

ก็วินิจฉัย (การไตร่ตรอง) มี ๔ อย่าง คือ ญาณวินิจฉัย ๑ ตัณหาวินิจฉัย ๑ ทิฏฐิวินิจฉัย ๑ วิตักกวินิจฉัย ๑. ในวินิจฉัย ๔ อย่างนั้น บุคคลรู้ถึงสุขวินิจฉัยในข้อที่ท่านกล่าวว่า พึงรู้ถึงสุขวินิจฉัย ดังนี้แล้ว พึงบำเพ็ญให้ถึงความสุขในภายใน นี้ชื่อว่า ญาณวินิจฉัย. บทว่า วินิจฺฉยา ได้แก่ วินิจฉัยสองอย่าง คือ ตัณหาวินิจฉัย และ ทิฏฐิวินิจฉัย. ตัณหาวิจริต ๑๐๘ ชื่อว่า ตัณหาวินิจฉัย. ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐิวินิจฉัย. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงวินิจฉัยได้แก่ วิตก เท่านั้น ดังที่มาในสูตรว่า ฉนฺโท โข เทวานมินฺท วิตกฺกนิทาโน ความว่า ดูก่อนจอมเทพ ฉันทะแลมีวิตกเป็นที่เกิด ดังนี้. บุคคล แม่ได้ลาภแล้ว ก็ยังไตร่ตรองถึงสิ่งที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ ถึง สิ่งดีและไม่ดีด้วยวิตกว่า เท่านี้จักมีเพื่อรูปารมณ์แก่เรา เท่านี้ จักมีเพื่อสัททารมณ์ เท่านี้จักมีแก่เรา เท่านี้จักมีแก่ผู้อื่น เราจัก บริโภคเท่านี้ เราจักเก็บไว้เท่านี้ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลาภํ ปฏิจฺจ วินิจฺฉโย ไตร่ตรองอาศัยลาภดังนี้.

บทว่า ฉนฺทราโค ความว่า ราคะอย่างอ่อนและราคะอย่าง แรง ย่อมเกิดขึ้นในวัตถุที่ตรึกด้วยอกุศลวิตกอย่างนี้ จริงอยู่บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 800

ฉนฺโท ในสูตรนี้เป็นชื่อของราคะอย่างอ่อน. บทว่า ปริคฺคโห ได้แก่ ทำการยึดถือด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า มจฺฉริยํ ได้แก่ ทนต่อความเป็นของทั่วไปแก่ผู้อื่นไม่ได้. ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่าน โบราณาจารย์จึงกล่าวความแห่งถ้อยคำอย่างนี้ของ มัจฉริยะนั้นว่า ความอัศจรรย์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มัจฉริยะ เพราะเป็น ไปแล้วในความว่า ขอความอัศจรรย์จงมีแก่เราเท่านั้น ขอจงอย่า มีแก่คนอื่นเลยดังนี้. บทว่า อารกฺขา ได้แก่ การรักษาไว้ด้วยดี โดยปิดประตูและเก็บรักษาไว้ในหีบเป็นต้น. ชื่ออธิกรณะเพราะ ทำให้ยิ่ง บทนั้นเป็นชื่อของเหตุ. บทว่า อารกฺขาธิกรณํ เป็นนปุงสกลิงค์ภาวสาธนะ อธิบายว่า เหตุแห่งการอารักขา. ในบทว่า ทณฺฑาทานํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การถือท่อนไม้เพื่อกั้นผู้อื่น ชื่อว่า ทณฺฑาทานํ การถือศัตรามีคมข้างเดียวเป็นต้น ชื่อว่า สตฺถาทานํ. การทะะเลาะกันด้วยกายก็ดี การทะเลาะกันด้วยวาจาก็ดี ชื่อว่า กลโห. ตอนแรกเป็นวิคคหะ ตอนหลังเป็นวิวาท. บทว่า ตุวํตุวํ ได้แก่ พูดขึ้นมึงขึ้นกู โดยไม่เคารพกัน.

จบ อรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๓