พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ววัตถสัญญาสูตร ว่าด้วยสัตตาวาส ๙ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39693
อ่าน  398

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 801

ปัณณาสก์

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๔. ววัตถสัญญาสูตร

ว่าด้วยสัตตาวาส ๙ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 801

๔. ววัตถสัญญาสูตร

ว่าด้วยสัตตาวาส ๙ ประการ

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็น ไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญา ต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวกและวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๑.

สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือน เทวดาผู้อยู่ในชั้นพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาส ชั้นที่ ๒.

สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือน เทวดาชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๓.

สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๔.

สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนเทวดาผู้เป็น อสัญญีสัตว์ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๕.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึง เป็นอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๖.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึง เป็นอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 802

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๗.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึง เป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๘.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญยตนะ เพราะ ล่วงอากัญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๙ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตตาวาส ๙ ชั้นนี้แล.

จบ ววัตถสัญญาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสัตตสัญญาสูตรที่ ๔

สัตตสัญญาสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สตฺตาวาสา ได้แก่ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ที่เป็นที่อยู่. ในบทนั้นแม้สุทธาวาสก็เป็นสัตตาวาสเหมือนกัน แต่ ท่านมิได้จัดไว้ เพราะสุทธาวาสมิได้มีตลอดกาลทั้งหมด. ด้วยว่า สุทธาวาสเป็นเช่นกับที่พักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้ามิได้ทรงอุบัติตลอดอสงไขยกัป ที่นั้นก็ว่างเปล่า เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงไม่จัดไว้เพราะสุทธาวาสมิได้มีตลอดกาลทั้งหมด. บทที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในวิญญาณฐิติ นั้นแล.

จบ อรรถกถาสัตตสัญญาสูตรที่ ๔