พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สิลายูปสูตร ว่าด้วย (ปฐม) ผู้จบพรหมจรรย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39694
อ่าน  380

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 803

ปัณณาสก์

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๕. สิลายูปสูตร

ว่าด้วย (ปฐม) ผู้จบพรหมจรรย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 803

๕. สิลายูปสูตร

ว่าด้วย (ปฐม) ผู้จบพรหมจรรย์

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต ให้ดีด้วยปัญญา ในกาลนั้น ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอบรมจิตใหญ่ด้วยปัญญาอย่างไร ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า จิตของเราปราศจาก ราคะแล้ว จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว จิตของเราปราศจาก โมหะแล้ว จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโทสะ เป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียน มาเพื่อรูปราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาเพื่อรูปราคะ เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต ให้ดีด้วยปัญญาแล้ว ในกาลนั้น ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

จบ ปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 804

อรรถกถาปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕

ปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า สปริจิตํ โหติ ได้แก่ อบรมดีแล้วคือ เจริญดีแล้ว. บทว่า กลฺลํ วจนาย ได้แก่ควรเพื่อ จะกล่าว. บทว่า วีตราคํ ได้แก่ปราศจากราคะ. บทว่า อสคาคธมฺนํ ได้แก่หมดสภาพที่จะให้ยินดีด้วยราคะ. บทว่า อนาวตฺติธมฺมํ ได้แก่หมดสภาพที่จะกลับมา คือไม่ควรเกิดต่อไป อธิบายว่า มี สภาพดับสนิท โดยไม่มีปฏิสนธิอีกต่อไปนั่นเอง. ในสูตรนี้ท่าน กล่าวถึงพระขีณาสพเท่านั้น.

จบ ปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕