พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปฐมเวรสูตร ว่าด้วยองค์คุณของผู้สิ้นอบาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39696
อ่าน  353

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 810

ปัณณาสก์

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๗. ปฐมเวรสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของผู้สิ้นอบาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 810

๗. ปฐมเวรสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของผู้สิ้นอบาย

[๒๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ และประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ ในกาลนั้น อริยสาวก นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสทางใจ เพราะปาณาฑิบาตเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ใน ปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วย ประการอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ เขาไม่ให้ ฯลฯ ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมเสวย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 811

ทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะผู้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการ ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อม ไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมไม่ได้ เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับภัยเวร นั้นด้วยอาการอย่างนี้ อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้.

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนก ธรรม ๑ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว... อันวิญญูชน จะพึงรู้ได้เฉพาะตน ๑ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว... เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๑ ย่อมประกอบด้วยศีลอันพระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อม เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ ถูกต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้.

ดูก่อนคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ อริย-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 812

สาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรก สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย มีทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบ ปฐมสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมเวรสูตรที่ ๗

ปฐมเวรสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภยํ เวรํ ปสวติ ได้แก่ประสบภัยเกิดจากจิตสะดุ้ง และเวรเกิดจากบุคคล. บทว่า เจตสิกํ ได้แก่อาศัยจิต. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ มีกายเป็นที่ตั้ง. บทว่า โทมนสฺสํ ได้แก่ ทุกข์อันสัมปยุต ด้วยความแค้น. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงโสดาปัตติมรรค.

จบ อรรถกถาปฐมเวรสูตรที่ ๗