พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมอาฆาตสูตร ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39698
อ่าน  415

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 816

ปัณณาสก์

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๙. ปฐมอาฆาตสูตร

ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 816

๙. ปฐมอาฆาตสูตร

ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ ประการ

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการเป็น ไฉน คือ บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ ประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์ แก่เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา ๑ ย่อมผูก ความอาฆาตว่า คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่คนที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว ๑ คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์ แก่คนที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์ แก่คนที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ ย่อมผูกความอาฆาตว่า คนโน้น ได้ประพฤติประโยชน์แก่คนไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ๑ คนโน้นย่อมประพฤติประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของ เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติประโยชน์แก่คนไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้แล.

จบ ปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙

อรรถกกถาปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙

ปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาฆาตวัตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งความอาฆาต. บทว่า อาฆาตํ พนฺธติ ได้แก่ผูกความโกรธ คือทำความโกรธให้ เกิดขึ้น.

จบ อรถรกถาปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙