พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยวิหารสูตร วิหารอนุปุพพวิหารสมบัติ ๙ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39702
อ่าน  431

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 823

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๔

๒. ทุติยวิหารสูตร

วิหารอนุปุพพวิหารสมบัติ ๙ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 823

๒. ทุติยวิหารสูตร

วิหารอนุปุพพวิหารสมบัติ ๙ ประการ

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหาร สมาบัติ ๙ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการเป็นไฉน เรากล่าวว่า กาม ทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกามทั้งหลายได้แล้วๆ อยู่ ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึง ฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า กามทั้งหลาย ย่อมดับในที่ไหน และใครดับกามทั้งหลายได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแก่วิเวกอยู่ กามทั้งหลาย ย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับกามได้แล้วๆ อยู่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชม ยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ดีแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไป นั่งใกล้.

เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใด ดับวิตกวิจารได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับ สนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใด พึงถามอย่างนี้ว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ไหน และใครดับ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 824

วิตกวิจารแล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลาย พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี วิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ วิตกวิจารย่อมดับในองค์ฌาน และท่านเหล่านั้นดับวิตกวิจาร ได้แล้วๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการ กระทำ อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้ แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็ปีติ ดับในที่ไหน และใครดับปีติได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ ไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัย นี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ปีติย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติได้แล้วๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็น ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใด ดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 825

ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใด พึงถามอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และใครดับ อุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลาย พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขา และสุขดับในองค์ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้ แล้วๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำ อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า รูปสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูป สัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิท แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถาม อย่างนี้ว่า รูปสัญญาดับในที่ไหนและใครดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการ ทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน เพราะคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศ ไม่มีที่สุด รูปสัญญาย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับ รูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึง นมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 826

เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่สุด และท่าน เหล่าใดดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่าน เหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วย องค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากาสานัญจายตนสัญญา ดับในที่ไหน และใครดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็น อารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อากาสานญจายตนสัญญาดับในองค์ ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึง ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่าน เหล่าใดดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่าน เหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วย องค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิญญาณัญจายตนสัญญา ดับในที่ไหน และใครดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี วิญญาณัฌจายตนสัญญาย่อมดับในองค์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 827

ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึง ชื่นชมยินดีภาษติว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่าน เหล่าใดดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่าน เหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วย องค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากิญจัญญายตนสัญญา ดับในที่ไหน และใครดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เรา ไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน อาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้น แล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามใดแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 828

ผู้นั้นอย่างนี้ว่า ก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญาตนสัญญา ดับในนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้ว อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึง ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล.

จบ ทุติยวิหารสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยวิหารสูตรที่ ๒

ทุติยวิหารสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยตฺถ กามา นิรุชฺฌนฺติ ได้แก่ กามทั้งหลายย่อมสงบ ไปในที่ใด. บทว่า นิโรเธตฺวา ได้แก่ ไม่กลับมาอีกแล้ว. บทว่า นิจฺฉาตา ได้แก่หมดอยาก เพราะไม่มีความอยากคือ ตัณหาและ ทิฏฐิต่อไป. บทว่า นิพฺพุตา ความว่า ดับสนิทแล้ว เพราะไม่มี

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 829

กิเลส เครื่องทำให้เร่าร้อนในภายใน. บทว่า ติณฺโณ ได้แก่ ข้ามพ้น กามทั้งหลาย. บทว่า ปารํคตา ได้แก่ไปเลยฝั่งแห่งกาม. บทว่า ตทงฺเคน ได้แก่ด้วยองค์ฌานนั้น. บทว่า เอตฺถํ กามา นิรุชฺฌนฺติ ได้แก่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้. บทว่า เต จ ได้แก่ ผู้ใดเข้าถึงปฐมฌาน นั้นชื่อว่าดับกามอยู่. บทว่า ปญฺชลโก ได้แก่ ประคองอัญชลี. บทว่า ปยิรูปาเสยฺย แปลว่า พึงเข้าไปหา. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยทำนองนี้.

จบ อรรถกถาทุติยวิหารสุตรที่ ๒