พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. นิพพานสูตร ว่าด้วยนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39703
อ่าน  401

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 830

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๔

๓. นิพพานสูตร

ว่าด้วยนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 830

๓. นิพพานสูตร

ว่าด้วยนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

[๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพาน นี้เป็นสุข ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็น สุขได้อย่างไร.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นิพพานนี้ไม่มี เวทนานั่นแหละเป็นสุข ดูก่อนอาวุโส กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึง รู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนอาวุโส สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย กามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข.

ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ ปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 831

อันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบ เหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียด เบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามเหล่านั้น ย่อม ฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดย ปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจาร สงบไป ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการ อันสหรคตด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบ เหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อ เบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธนั้นว่าเป็นทุกข์ ดูก่อน อาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติย่อม ฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิด ขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการ อันสหรคตด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธ นั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่าน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 832

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุข อย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อม ฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 833

พึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้. เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสาณัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้น ว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่าน พึงทราบโดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบ ได้ปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของ เธอเปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 834

เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อ เหตุมีอยู่ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนได้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน เป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึง ทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลาย ของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส นิพพาน เป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

จบ นิพพานสูตรที่ ๓

อรรถกถานิพพานสูตร

นิพพานสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุทายี ได้แก่ พระโลฬุทายีเถระ. บทว่า เอตเทว เขฺวตฺถ ตัดบทเป็น เอตเทว โข เอตฺถ ได้แก่ ไม่มีความสุขนั้นแล ในที่นี้. บทว่า กามสหคตา คืออาศัยกาม. บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในมโนทวาร. บทว่า อาพาธาย ได้แก่ เพื่อ เบียดเบียนคือเพื่อบีบคั้น. บทว่า ปริยาเยน แปลว่า โดยเหตุ. พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งหมดอย่างนี้. ในสูตรนี้พระสารีบุตร กล่าวถึง อเวทยิตสุข.

จบ อรรถกถานิพพานสูตรที่ ๓