พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ฌานสูตร ว่าด้วยฌานสมาบัติและสัญญาเวทนิตนิโรธ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39705
อ่าน  539

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 842

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๔

๕. ฌานสูตร

ว่าด้วยฌานสมาบัติและสัญญาเวทนิตนิโรธ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 842

๕. ฌานสูตร

ว่าด้วยฌานสมาบัติและสัญญาเวทนิตนิโรธ

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติฌานบ้าง ตติยฌาน บ้าง จตุตฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย เนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่ง ปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของ ชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรม เหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละ คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 843

ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อม เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดี เพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และ ทำลายร่างใหญ่ๆ ได้แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌาน นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่ เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราอาศัย ตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 844

อะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อม พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมนั้นๆ ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า หรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย ร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน กันแล บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อ ที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นแห่งอาสวะ ทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 845

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ ปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจายตนฌานนั้น โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิต ให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิง ธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม่ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 846

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ อาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน บ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อม พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่น สงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อม เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน นายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่น ที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 847

ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง บรรลุกิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรม เป็นที่สงบสังขารทั้งปวง... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว ว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้า สมาบัติ และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึง กล่าวได้โดยชอบ.

จบ ฌานสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 848

อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕

ฌานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ ความว่า ธรรมดารูปใดย่อมเป็นไปในขณะปฐมฌาน นั้นด้วยวัตถุก็ดี ด้วยมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี. พึงทราบเวทนาเป็นต้น ด้วยสามารถสังยุตตเวทนา (เวทนาที่ประกอบกัน เป็นต้น). บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรม คือ เบญจขันธ์ มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อนิจฺจโต พึงทราบความต่อไปนี้ ชื่อว่า โดยเป็นของไม่เที่ยง เพราอาการมีแล้วไม่มี ชื่อว่า โดย เป็นทุกข์เพราะอาการบีบคั้น ชื่อว่า โดยเป็นโรคเพราะอาการ เสียดแทง ชื่อว่า โดยเป็นฝีเพราะเจ็บปวดภายใน ชื่อว่า โดยเป็น ลูกศร เพราะเสียบเข้าไปและเพราะเชือดเข้าไป ชื่อว่า โดยเป็น ความลำบากเพราะทนได้ยาก ชื่อว่า โดยอาพาธเพราะถูกเบียดเบียน ชื่อว่า โดยเป็นอื่นเพราะไม่ใช่เป็นของตน ชื่อว่า โดยเป็น ของทำลายเพราะผุพังไป ชื่อว่า โดยเป็นของสูญเพราะไม่เป็น เจ้าของ ชื่อว่า โดยเป็นอนัตตาเพราะไม่อยู่ในอำนาจ. บทว่า สมนุปสฺสติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า. บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก้ด้วยธรรมคือ เบญจขันธ์เหล่านั้น. บทว่า ปติฏฺาเปติ ได้แก่กลับไปด้วยความเบื่อหน่าย. บทว่า อมตาย ธาตุยา ได้แก่ นิพพานธาตุ. บทว่า จิตฺตํ อุปสํหรติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า คือเห็นอานิสงส์ด้วยญาณแล้วหยั่งลง. บทว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 849

สนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่า สงบเพราะสงบจากกิเลสอันเป็นข้าศึก. บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ไม่เดือดร้อน. บทว่า โส ตตฺถ ิโต อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น เจริญ วิปัสสนาแก่กล้า ย่อมบรรลุพระอรหัต.

พึงทราบอีกนัยหนึ่ง. บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ ความว่า เพราะในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะ ด้วยสองบท คือ อนิจจโต ปโลกโต กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วย หกบท มีบทว่า ทุกฺขโต เป็นต้น กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วย สามบท คือ ปรโต สุญฺโต อนตฺตโต ฉะนั้น ภิกษุนั้นยกขึ้นสู่ พระไตรลักษณ์อย่างนี้ด้วยธรรม คือเบญจขันธ์ในภายในสมาบัติ ที่ตนเห็นแล้วเหล่านั้น บทว่า จิตฺตํ ปติฏาเปติ ได้แก่ รวบรวม น้อมนำจิตเข้าไป. บทว่า อุปสํหรติ ความว่า ภิกษุน้อมเข้าไป ซึ่งวิปัสสนาจิตโดยอสังขตธาตุ อมตธาตุอย่างนี้ว่า นิพพานสงบ ด้วยที่อยู่ ด้วยการสรรเสริญ ด้วยปริยัติ และด้วยบัญญัติ ภิกษุ ย่อมกล่าวถึงนิพพานอันเป็นมรรคจิตอย่างนี้ว่า นี้สงบนี้ประณีต ด้วยทำให้เป็นอารมณ์เท่านั้น อธิบายว่า โดยประการนี้ภิกษุแทง ตลอดธรรมนั้น น้อมจิตเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้. บทว่า โสตตฺถ ิโต ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น. บทว่า อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุเจริญมรรค ๔ ตาม ลำดับแล้วบรรลุพระอรหัต.

บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน ได้แก่ ฉันทราคะในธรรม คือสมถะ และวิปัสสนา. บทว่า ธมฺมนนฺทิยา เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราเคน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 850

นั้นนั่นเอง. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อสามารถจะครอบงำฉันทราคะใน สมถะและวิปัสสนาได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัตได้ เมื่อไม่สามารถ ก็เป็นพระอานาคามี. บทว่า ติณปุริสรูปเก วา ได้แก่ มัดหญ้าเป็นรูปคน. ชื่อว่า ทูเรปาติ เพราะยิงลูกศรให้ตกไปไกล. ชื่อว่า อกฺขณเวธี เพราะยิงไม่พลาด.

ในบทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ นี้ ไม่ถือเอารูป ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเลยไปแล้ว. จริงอยู่ ภิกษุนี้ เข้าถึงรูปาวจรฌานในภายหลัง ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว แม้เข้าถึง อรูปาวจรสมาบัติ ภายหลังพิจารณารูปอันล่วงเลยรูปไปแล้ว ด้วยอรูปาวจรสมาบัตินั้นด้วยสมถะ ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว ใน บัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป ด้วยเหตุนั้นรูปจึงล่วงเลยไปแล้วด้วยอรูป นั้น แม้ด้วยวิปัสนา ก็ในอรูปย่อมไม่มีรูปแม้โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้นแม้ท่านหมายถึงรูปนั้น แต่ในที่นี้ไม่ถือเอารูป. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะ เล่า. ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม. จริงอยู่ในเนวสัญญานาสัญญยตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺาปฏิเวโธ. ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า สจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่ง ประมาณเท่านั้น เขาย่อมถึงพระอรหัต แต่ เนวสัญญานาสัญญายตนะท่านไม่กล่าวว่า เป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความ เป็นของสุขุม.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 851

บทว่า ฌายี เหเต ความว่า อายตนะสองเหล่านี้อันผู้เพ่ง คือผู้ยินดีในฌานควรกล่าวถึงโดยชอบ บทว่า วุฏฺหิตฺวา ได้แก่ ออกจากสมาบัตินั้น. บทว่า สมฺมทกฺขาตพฺพานิ ได้แก่ พึงกล่าว โดยชอบ. บุคคลพึงกล่าว พึงชม พึงสรรเสริญเนวสัญญายตน สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเดียวว่า สงบ ประณีตดังนี้.

จบ อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕