พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. เทวสูตร ว่าด้วยเทวาสุรสงครามกับการผจญมาร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39708
อ่าน  464

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 863

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๔

๘. เทวสูตร

ว่าด้วยเทวาสุรสงครามกับการผจญมาร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 863

๘. เทวสูตร

ว่าด้วยเทวาสุรสงครามกับการผจญมาร

[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงคราม ระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน สงครามครั้งนั้น พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดาที่แพ้ ได้พากันหนีไป พวกอสูรลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศอุดร ครั้งนั้น แล พวกเทวดาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกอสูรลุกไล่ติดตามมา จำเราจะทำสงครามกับพวกอสูรครั้งที่ ๒ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ พวกเทวดาก็ทำสงคราม กับพวกอสูรอีก พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดา ที่แพ้ได้พากันหนีไป พวกอสูรลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศอุดร ครั้งนั้นแล พวกเทวดาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกอสูรลุกไล่ ติดตามมา จำเราจะทำสงครามกับอสูรครั้งที่ ๓ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ พวกเทวดาทำสงคราม กับพวกอสูรอีก พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดา ที่แพ้กลัวพากันหนีเข้าไปในเทพบุรี ก็แหละพวกเทวดาที่หนีเข้าไป ยังเทพบุรี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว พวกอสูรจะทำอะไรเราไม่ได้ แม้พวกอสูรก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเทวดามีตนได้ที่พึ่งแล้ว พวกเราจะทำอะไรไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 864

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง เทวดากับพวกอสูรได้ประชิดกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงคราม ครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ และพวกอสูรที่แพ้ได้พากัน หนีไป พวกเทวดาลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศทักษิณ ครั้งนั้นแล พวกอสูรได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเทวดาลุกไล่ติดตามมา จำ เราจะทำสงครามกับพวกเทวดาแม้ครั้งที่ ๒ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ พวกอสูรก็ทำสงครามกับ พวกเทวดาอีก พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ และพวกอสูรที่แพ้ ได้พากันหนีไป พวกเทวดาลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศทักษิณ ครั้งนั้นแล พวกอสูรได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเทวดาลุกไล่ ติดตามมา จำเราจะทำสงครามกับพวกเทวดาแม้ครั้งที่ ๓ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ พวกอสูรก็แพ้ได้พากันหนี เข้าไปยังอสูรบุรี ก็แหละพวกอสูรที่พากันหนีเข้าไปในอสูรบุรี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว พวกเทวดา จะทำอะไรเราไม่ได้ แม้พวกเทวดาก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกอสูรมีตนเป็นที่พึ่งแล้ว พวกเราทำอะไรไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สมัยใด ภิกษุ สงัดจากกาม... บรรลุปฐมฌาน... สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ ว่า บัดนี้ เรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว มารจะทำอะไรเราไม่ได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้มารผู้ลามกก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุ มีตนได้ที่พึ่งแล้ว เราจะทำอะไรไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 865

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่าง นี้ว่า บัดนี้ เรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว มารจะทำอะไรเราไม่ได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้มารผู้ลามก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุ มีตนได้ที่พึ่งแล้ว เราจะทำอะไรไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน... สมัยนั้น ภิกษุ นี้เรียกว่า ได้ทำมารให้เป็นที่สุด ให้ติดตามไม่ได้ ปิดตามารสนิท มารมองไม่เห็น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอสิ้นรอบ แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา สมัยนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ได้กระทำ มารให้เป็นที่สุด ให้ติดตามไม่ได้ ปิดตามารสนิท มารมองไม่เห็น

จบ เทวสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 866

อรรถกถาเทวสูตรที่ ๘

เทวสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ คือได้ประจัญหน้ากันแล้ว. บทว่า สงฺคาเมยฺยาม ได้แก่ ทำสงครามคือรบกัน. บทว่า อปสฺสึเสวฺว ได้แก่ พวกเทวดาพากันหนีไป. บทว่า อุตฺตราภิมุขา คือบ่ายหน้า ไปทางทิศอุดร. บทว่า อภิภยนฺเตว ได้แก่ รุกไล่ตามไป. บทว่า ภีรุตฺตาณคเตน ได้แก่ ไปหาที่พึ่งต่อต้านความกล้า คือห้ามความ กลัว. บทว่า อกรณิยา ได้แก่ พวกอสูรทำการรบไม่ได้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกเทวดาและอสูรจึงรบกัน ตอบว่า เพราะพวกอสูรเคยอยู่ในภพดาวดึงส์มาก่อน ครั้นถึงเวลาดอกจิตตปาตลิบาน พวกอสูรระลึกถึงดอกปาริฉันตตกะอันเป็นทิพย์ แต่นั้นพวกอสูรเกิดโกรธขึ้นมากล่าวว่า พวกท่านจงจับเทวดา ก็พากันออกมา. การรบของเทวดาและอสูรเหล่านั้น เป็นเหมือน กับเด็กเลี้ยงโค เอาท่อนไม้ทุบตีกันและกัน. ท้าวสักกเทวราช ตั้งอารักขาไว้ในที่ ๕ แห่งเบื้องล่าง ส่วนในเบื้องบนทรงตั้งรูป เปรียบเหมือนพระองค์ พระหัตถ์ทรงวชิราวุธ แวดล้อมเทวบุรีไว้. พวกอสูรผ่านขึ้นไปถึงที่ ๕ แห่ง เบื้องล่าง เห็นอินทปฏิมา (รูป พระอินทรีย์) จึงพากันกลับไปอสูรบุรีทันที.

บทว่า ทกฺขิเณน มุขา ได้แก่ บ่ายหน้าไปทางทิศทักษิณ. บทว่า อปทํ พนฺธิตฺวา ได้แก่ ไม่ให้เหลือรอยเท้าไว้. บทว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 867

อทสฺสนํ คโต ความว่า แม้มารก็รู้จิตของภิกษุผู้เข้ารูปาวจรจตุตถฌานอันมีวัฏฏะเป็นบาท รู้จิตของภิกษุผู้เข้าสมาบัติ อันมี วิปัสสนาเป็นบาทนั่นเอง มารย่อมไม่รู้จิตของภิกษุผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ อันมีวัฏฏะเป็นบาท หรือมีวิปัสสนาเป็นบาท ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อทสฺสนํ คโต ปาปิมโต ดังนี้.

จบ อรรถกถาเทวสูตรที่ ๘