การมีสติเกิดร่วมด้วย

 
WS202398
วันที่  11 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3971
อ่าน  1,105

เคยได้ยินมาว่า ขณะที่เป็นกุศลมีสติเกิดร่วมด้วย ขณะใดไม่เป็นกุศลไม่มีสติเกิดร่วมด้วยการเจริญวิปัสสนาคือการระลึกถึงสิ่งที่กำลังปรากฎตามความเป็นจริงถ้าเช่นนั้นขณะที่จิตเป็นอกุศลไม่มีสติเกิดร่วมด้วย จะระลึกรู้ลักษณะของอกุศลได้อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ควรทราบว่าจิตเป็นธรรมที่เกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็วมาก เมื่อจิตเกิดดับเร็วจิตย่อมรู้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม จิตที่เกิดวาระหลังๆ ย่อมรู้จิตที่เกิดวาระก่อนที่ดับไปแล้วได้ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น มีอกุศลเป็นอารมณ์ สติปัฏฐานเป็นจิตชาติกุศล มีสติเกิดร่วมด้วย อกุศลจิตไม่มีสติเกิดร่วมด้วย สรุปคือ จิตที่เกิดภายหลัง รู้จิตที่เพึ่งดับไปเป็นจิตต่างขณะ ไม่ใช่ขณะเดียวกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
WS202398
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ถ้าจะกล่าวว่าอกุศลจิตดวงแรกที่ดับไป เหลือสัญญาไว้เป็นอารมณ์ของจิตดวงต่อไปใช่หรือไม่ครับ และจะกล่าวว่ากุศลจิต คือ สภาพธรรมที่รู้ได้ขณะกำลังปรากฏตามความเป็นจริง ได้จริงๆ ส่วนอกุศลรู้ได้โดยผ่านสัญญา เพราะขณะใดที่เป็นอกุศลขณะนั้นย่อมไม่มีสติสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

สติสัมปชัญญะ หมายถึง ปัญญาเจตสิก ขณะที่เป็นอกุศลจิตขณะนั้นไม่มีสติเกิดร่วมด้วยแน่นอนค่ะ แต่อย่างที่ความเห็นที่ ๑ กล่าวไปแล้วว่า จิตเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็ว อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ เช่น เวลาเราโกรธต่อว่าคนอื่น ภายหลังสติเกิดรู้ว่าตัวเองไม่ดี ไม่ควรไปว่าเขา ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
saowanee.n
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

จิตที่รู้อกุศล ไม่ใช่อกุศล เพราะอกุศล ไม่รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากความเห็นที่ ๒ ถ้าจะกล่าวว่า อกุศลจิตดวงแรกที่ดับไป เหลือสัญญาไว้เป็นอารมณ์ของจิตดวงต่อไปใช่หรือไม่ครับ และจะกล่าวว่ากุศลจิต คือ สภาพธรรมที่รู้ได้ขณะกำลังปรากฏตามความเป็นจริง ได้จริงๆ ส่วนอกุศลรู้ได้โดยผ่านสัญญา เพราะขณะใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นย่อมไม่มีสติสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วย

จิตเป็นสภาพธัมมะที่เป็นใหญ่ในการรู้อกุศลจิต จิตของอกุศลจิตก็เป็นใหญ่ในการรู้ กุศลจิต จิตของกุศลจิตก็เป็นใหญ่ในการรู้ เป็นสภาพรู้อารมณ์นั่นเอง แต่ความต่างก็คือ ขณะที่เป็นสติปัฏฐานเป็นกุศลจิตประกอบด้วยปัญญา การรู้ของจิตนั้น รู้ด้วยความเห็นถูก ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ต่างกับอกุศลจิตรู้ในสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น แต่ไม่ได้รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา และกุศลอกุศลที่ดับไปก็ไม่ได้เลือกสัญญาเอาไว้ให้รู้แต่จิตดวงต่อไป (สติปัฏฐาน) สามารถรู้สภาพธัมมะที่ดับไปแล้ว (จิต) ได้โดยเป็นอารมณ์ปัจจุบัน อันเนื่องมาจากสภาพธัมมะที่เกิดดับสืบต่ออย่างเร็วนั่นเองครับ ซึ่งเราเรียกว่า สันตติปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสภาพธัมมะนั้นดับไปแล้ว แต่เพราะความสืบต่อเร็วมากนั่นเอง ก็ย่อมเป็นอารมณ์ของจิตที่ประกอบด้วยปัญญา (สติปัฏฐาน) ระลึกสภาพธัมมะที่ดับไป เป็นอารมณ์ โดยรู้ตามความเป็นจริงว่า สภาพธัมมะนั้นไม่ใช่เรา เป็นธัมมะ

ประการสำคัญ ขณะที่สติระลึกสภาพธัมมะ เช่น ขณะนี้ สภาพเห็นมี ตามการศึกษาเห็นก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันก็ยังเห็น ดังนั้นการอบรมสติปัฏฐานก็คือ สติระลึกสภาพธัมมที่มีจริง เช่น เห็น โดยขณะที่ระลึกก็ไม่ได้คิดว่าจะมีอารมณ์ปัจจุบันดับไปก่อน อะไรทำนองนี้เลย ไม่เป็นเรื่องราว ดังนั้นการอบรมปัญญาที่ถูกต้องก็คือ เป็นตัวสติที่ระลึกจริงๆ ในสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ โดยไม่ใช่ขั้นคิดพิจารณาเรื่องราวครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
อิสระ
วันที่ 12 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
WS202398
วันที่ 12 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

ทำไมทุกครั้งที่ข้าพเจ้าพิจารณาสภาพธรรมตามความเข้าใจ เช่น ความแตกต่างระหว่างนาม รูป หรือขณะนี้สภาพธรรมใดกำลังเกิด มักจะกลายป็นความคิด เป็นเรื่องราวเสมอไป กรุณาชี้แจงว่าเพราะอะไร และควรพิจารณาอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
study
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

เป็นธรรมดาของผู้ศึกษาพระธรรม เวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิดรู้ลักษณะสภาพธรรมย่อมมีการคิดเป็นเรื่องราวเสมอ หรือแม้แต่สติปัฏฐานเกิดดับไปแล้วย่อมคิดเป็นเรื่องราวต่อ โปรดศึกษาพระธรรมโดยละเอียดต่อไป และขออนุโมทนาที่ท่านไม่หลอกตัวเองว่า เป็นผู้สติปัฏฐานเกิดในขณะที่คิด เพราะขณะที่คิดขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่สติปัฏฐานเกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
saowanee.n
วันที่ 13 มิ.ย. 2550

เมื่อปัญญาขั้นนั้นยังไม่เกิด (การประจักษ์ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง) การคิดนึกถึงเรื่องราวของสภาพธรรม จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะการอบรมเจริญปัญญายังไม่เพียงพอ เหตุยังไม่สมควรแก่ผล แต่การหมั่นระลึก ศึกษา พิจารณา สังเกตุ ในสภาพธรรมนั้นบ่อยๆ จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในสภาพธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อย อย่างบางเบาจนเราไม่รู้สึก เหมือนกับการจับด้ามมีดจริงๆ ค่ะ ขอให้พิจารณาสภาพธรรมต่อไปนะคะ แล้วความเข้าใจก็จะละเอียดขึ้น ชัดขึ้น ชินขึ้น สะสมไปเรื่อยๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 11 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ