พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ตปุสสสูตร ว่าด้วยอนุปุพพวิหาร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39710
อ่าน  592

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 872

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๔

๑๐. ตปุสสสูตร

ว่าด้วยอนุปุพพวิหาร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 872

๑๐. ตปุสสสูตร

ว่าด้วยอนุปุพพวิหาร

[๒๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคม ของชนชาวมัลละ ชื่ออุรุเวลกัปปะ ในแคว้นมัลละ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอุรุเวลกัปปนิคม ครั้นแล้ว เสด็จกลับ จากบัณฑบาต ภายหลังภัต ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน อานนท์ เธอจงอยู่ในที่นี้ก่อน จนกว่าเราจะไปถึงป่ามหาวันต์เพื่อ พักผ่อนในกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงป่ามหาวัน ประทับพักผ่อน กลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.

ครั้งนั้นแล ตปุสสคฤหบดี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่าน พระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม เพลิดเพลินยินดีหมกมุ่นอยู่ในกาม เนกขัมมะไม่ปรากฏ แก่ข้าพเจ้าเหล่านั้นเหมือนดังเหว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ทั้งหลายได้สดับมาดังนี้ว่า จิตของภิกษุหนุ่มๆ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ย่อมหลุดพ้นในเพราะ เนกขัมมะ เมื่อเธอเหล่านั้นพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล้วนแต่เป็นวิสภาคกับชนเป็นอันมาก นั้นก็ คือ เนกขัมมะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 873

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี เหตุแห่งถ้อยคำนี้ มีอยู่มาเราไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วจักกราบทูลเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจักกระทำ อย่างนั้น ตปุสสคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พวก ข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เพลิดเพลินยินดีหมกมุ่นอยู่ในกาม เนกขัมมะไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหล่านั้นเหมือนดังเหว ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สดับมาดังนี้ว่า จิตของพวกภิกษุหนุ่มๆ ในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้น ในเพราะเนกขัมนะ เมื่อเธอเหล่านั้นพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล้วนแต่เป็นวิสภาคกับชน เป็นอันมาก นั่นก็ลือ เนกขัมมะ ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ดูก่อนอานนท์ แม้เมื่อเราเองก่อนแต่ การตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เนกขัมมะเป็นความดี วิเวกเป็นความดี จิตของเรานั้นยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ยังไม่หลุดพ้นใน เพราะ เนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นี้สงบ เรานั้นได้มีความคิด ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเรา ไม่แล่นไป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 874

ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น ใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นจึงคิดต่อไปว่าโทษในกามทั้งหลาย ที่เรายังไม่เห็น และไม่ได้กระทำให้มาก อานิสงส์ในเนกขัมมะ เรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพโดยมาก เพราะฉะนั้น จิตของเรา จึงไม่สิ้นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้นใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้ มีความคิดว่า ถ้าว่าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว พึงกระทำ ให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้ว พึงเสพอานิสงส์นั้นโดย มาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราจะพึงแล่นไป พึง เลื่อมใส พึงตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พึงหลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรา นั้นเห็นโทษในกามแล้ว ได้กระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ใน เนกขัมมะแล้วเสพโดยมาก จิตของเรานั้นจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณา เห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปิติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อ เรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเรา เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงบังเกิดขึ้นแก่คนผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ ทุติยฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร ไม่หลุดพ้นในเพราะทุติยฌาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 875

อันไม่มีวิตกวิจาร เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรา นั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้จิต ของเราไม่แล่นไป... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพราะ พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในวิตก เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌาน อันไม่มีวิตกวิจาร เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเรา เห็นโทษในวิตกแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌาน อันไม่มีวิตกวิจาร แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นแล เห็นโทษในวิตก... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น จึงแล่นไป... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาระ... เรานั้นบรรลุ ทุติยฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา. มนสิการอันสหรคตด้วยวิตก... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราจะพึง มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนอานนท์ จิตของเรา นั้นย่อมไม่แล่นไป... ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไร หนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ใน เพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 876

อานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในปีติ เราไม่เห็นและไม่ได้ ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีปีติ เราไม่ได้บรรลุและ ไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะ ทุติยฌานอันไม่มีปีติ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้ มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในปีติแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ อานิสงส์ในตติยฌาน อันไม่มีปีติแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็น ฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในปีติ... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น จึงแล่นไป... ในเพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ... เรานั้นบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ จตุตถฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อมไม่แล่นไป... ใน จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นไม่มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็น ปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะจตุตถฌาน อัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า โทษในอุเบกขาและสุข เราไม่เห็นและไม่ได้ ทำให้มาก อานิสงส์ในจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เราไม่ได้ บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอุเบกขา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 877

และสุขแล้ว พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานอัน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็น โทษในอุเบกขาและสุข... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น จึงแล่นไป... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข... เรานั้น บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา... พึง บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อม ไม่แล่นไป... ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณา เห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเรื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในรูปฌานทั้งหลาย เราไม่เห็นและ ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่ได้ บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลายแล้ว พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌานแล้ว พึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่น ไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลาย... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป... ในเพราะ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 878

อากาสานัญจายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา มนสิกาอันสหรคตด้วยรูปฌานทั้งหลาย... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา... พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อมไม่แล่นไป... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณา เห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอ แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะ วิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากาสาณัญจายตนฌาน เราไม่เห็น และไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้ บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่านั่นสงบ เรา นั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอากาสาณัญจายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเรา พึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรา จึงแล่นไป... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม นี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสาณัญจายตนฌาน... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 879

ไป... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็น เหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้น ได้มีความคิดว่า โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและ ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากิญจัญญาตนฌาน เราไม่ได้ บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป... ในเพราะ อากิญจัญจายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอเรา... พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จิตของเรานั้นย่อมไม่ แล่นไป... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะพิจารณา เห็นว่านั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอ แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อน อานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากิญจัญญายตนฌาน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 880

เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเรา จึงไม่แล่นไป... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะ พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษ ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ใน เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็น ฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน... เสพโดยมาก ดูก่อน อานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเราจึงแล่นไป... ในเพราะ เนวสัญญานาสัยญายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุเนวสัญญานาสัยญายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม นี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา เพราะ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะ สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 881

ไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ เรา ไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะ สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราจะ พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้น ในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อน อานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตฌาน แล้วทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดย มาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน สัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง และอาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป เพราะเห็น ด้วยปัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหาร สมาบัติ ๙ ประการนี้ โดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ ก็เมื่อใดแล

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 882

เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ โดย อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ ตปุสฺสสูตรที่ ๑๐

จบ มหาวรรคที่ ๔

อรรถกถาตปุสสสูตรที่ ๑๐

ตปุสสสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มลฺลเกสุ ได้แก่ ในแคว้นของมัลลกษัตริย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ จักมีการสนทนากันระหว่างตปุสสคฤหบดี กับพระอานนท์ ผู้ตั้งอยู่ในที่นี้ เราจักแสดงธรรมปริยายมากมีเรื่องนั้น เป็นเหตุ จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงอยู่ ณ ที่นี้ ดูก่อนเถิดดังนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินดี ตปุสสคฤหบดี นั้นบริโภคอาหารเช้าแล้วคิดว่า เราจักไปเฝ้าพระทศพล ดังนี้ จึงออกไปเห็นพระเถระแต่ไกล จึงเข้าไปหาพระอานนท์.

บทว่า ปปาโต วิย ขายติ ยทิทํ เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ กล่าวคือ บรรพชานี้ปรากฏด้วยดีคือ ปรากฏชัดแก่เราเหมือน เหวใหญ่. บทว่า เนกฺขมฺเม จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ความว่า จิตย่อมแล่น ไปในบรรพชาด้วยทำให้เป็น คือจิตทำบรรพชานั้นให้เป็น

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 883

อารมณ์ ย่อมเลื่อมใส ย่อมดำรงมั่นในบรรพชานั้น ย่อมพ้นจาก ธรรมอันเป็นข้าศึก. บทว่า เอตํ สนฺตนฺติ ปสฺสโต ได้แก่ ของภิกษุ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า เนกขัมมะนี้ สงบ คือ ปราศจากความกระวน กระวาย และความเร่าร้อน. บทว่า พหุนา ชเนน วิสภาโค ความว่า เนกขัมมะนั้น ของภิกษุทั้งหลายเป็นวิสภาค คือ ไม่เหมือนกับ มหาชน.

บทว่า กถาปาภตํ คือเหตุที่พูดจากัน. บทว่า ตสฺส มยฺหํ อานนฺท เนกฺขมฺเม จิตฺตํ น ปกฺขนฺทติ ความว่า จิตของเราแม้ตรึก อยู่อย่างนี้นั้น ก็ยังไม่หยั่งลงในบรรพชา บทว่า เอตํ สนฺตนฺติ ปสฺสโต ความว่า แม้เห็นอยู่ว่า เนกขัมมะนี้สงบด้วยการตรึกอย่าง รอบคอบว่า เนกขัมมะดีแน่ดังนี้. บทว่า อนาเสวิโต ได้แก่ ไม่เสพ คือไม่ถูกต้องไม่ทำให้แจ้ง. บทว่า อธิคมฺม ได้แก่ ถึงคือบรรลุ ทำให้แจ้ง. บทว่า ตเมเสเวยฺยํ ได้แก่ พึงเสพ คือพึงพบอานิสงส์นั้น บทว่า ยมฺเม ได้แก่ ของเราด้วยเหตุใด. บทว่า อธิคมฺม แปลว่า บรรลุแล้ว. บทว่า สฺวาสฺส เม โหติ อาพาโธ ได้แก่ ชื่อว่าอาพาธ เพราะอรรถว่า เบียดเบียนเรา. บทว่า อวิตกฺเก จิตฺตตํ น ปกฺขนฺทติ ความว่า จิตย่อมไม่แล่นไปในทุติยฌานอันไม่มีวิตกและวิจารด้วย สามารถอารมณ์. บทว่า วิตกฺเกสุ ได้แก่ วิตกและวิจาร. คำที่เหลือ ในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาตปุสสสูตรที่ ๑๐

จบ มหาวรรควรรณนาที่ ๔

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 884

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวิหารสูตร ๒. ทุติยวิหารสูตร ๓. นิพพานสูตร ๔. คาวีสูตร ๕. ฌานสูตร ๖. อานันทสูตร ๗. พราหมณสูตร ๘. เทวสูตร ๙. นาคสูตร ๑๐. ตปุสสสูตร และอรรถกถา

จบ มหาวรรคที่ ๔