พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร ว่าด้วยธรรมที่ผู้บรรลุพึงเห็นเอง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39715
อ่าน  413

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 896

ปัณณาสก์

ปัญจาลวรรคที่ ๕

๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ผู้บรรลุพึงเห็นเอง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 896

๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ผู้บรรลุพึงเห็นเอง

[๒๕๐] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรม อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเองๆ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียง เท่าไรหนอๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันผู้บรรลุจะพึง เห็นเอง?

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ. ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรม อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง.

จบ ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 897

อรรถกถาปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สนฺทิฏิโก แปลว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง. บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ดับกิเลส. บทว่า ปรินิพพานํ เป็นไวพจน์ของบทว่า นิพพานํ นั้น. บทว่า ตทงฺคนิพฺพานํ ได้แก่ นิพพานด้วยองค์นั้น มีปฐมฌานเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺธมฺมนิพฺพานํ ได้แก่ นิพพานใน อัตภาพนี้นั่นเอง. คำที่เหลือในบททั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐

จบ ทุติยปัณณาสก์