อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ

 
chatchai.k
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39723
อ่าน  60

ภวังค์ที่ถูกกระทบชื่อว่า อตีตภวังค์

เวลาที่รูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาท ก็กระทบกับอตีตภวังค์ด้วย เมื่ออตีตภวังค์ดับไปเป็นปัจจัยให้ภวังค์ไหวเกิดขึ้นชื่อว่า ภวังคจลนะ

เมื่อภวังคจลนะดับไปแล้ว ภวังค์ดวงต่อไปที่เกิดขึ้น คือ ภวังคุปัจเฉทะ เป็นการสิ้นสุดของกระแสภวังค์

เมื่อภวังคุปัจเฉทะซึ่งเป็นภวังค์ดวงสุดท้ายของกระแสภวังค์ดับไปแล้ว จิตดวงต่อไป คือ อาวัชชนจิต ภาษาบาลีใช้คำว่า อาวัชชนจิต ซึ่งแปลโดยศัพท์ว่า รำพึงถึงอารมณ์ แต่คำว่ารำพึงนี้ไม่ใช่มานั่งคิดถึง ใช้คำว่า รำพึง แต่หมายความว่า รู้อารมณ์ที่กระทบทวาร

ความรู้มีเท่านั้นเอง ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่รู้รส ยังไม่รู้โผฏฐัพพะ เพียงแต่ว่าเมื่อมีอารมณ์กระทบปสาท ภวังคจิตดวงสุดท้ายของกระแสภวังค์ คือ ภวังคุปัจเฉทะดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปทำ อาวัชชนกิจ รำพึง คือ รู้ในลักษณะของอารมณ์ที่กระทบทางทวาร จิตดวงนี้สามารถที่จะรู้อารมณ์ที่กระทบทั้งทางตาก็ได้ หูก็ได้ จมูกก็ได้ ลิ้นก็ได้ กายก็ได้ ทั้งอารมณ์ที่ประณีตและอารมณ์ที่ไม่ประณีต

ที่มา และ ขอเชิญรับฟัง

แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 234


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ