พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. ธรรมปหายภัพพสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39732
อ่าน  392

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 904

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

เขมวรรคที่ ๑

๑๑. ธรรมปหายภัพพสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 904

๑๑. ธรรมปหายภัพพสูตร

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๙ ประการ ไม่ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะกระทำให้แจ้งอรหัต ธรรม ๙ ประการ เป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ โกธะ ๑ อุปนาหะ ๑ มักขะ ๑ ปลาสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๙ ประการนี้แลไม่ได้แล้ว ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการได้แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๙ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ โกธะ ๑ อุปนาหะ ๑ มักขะ ๑ ปลาสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้แลได้แล้ว ก็เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.

จบ ธรรมปหายภัพพสูตรที่ ๑๑

จบ เขมวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 905

อรรถกถาวรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าไปปัณณาสก์

ในสูตรทั้งหลายอื่นจากนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เขมํ ได้แก่ ไม่มีอันตราย. บทว่า เขมปุตฺโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ไม่มีอันตราย. บทว่า สิกฺขาทุพฺพลฺยานิ ได้แก่ เหตุ แห่งความหมดกำลังของสิกขา. คำที่เหลือในบททั้งหมดมีเนื้อความ ง่ายทั้งนั้น. ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถานวกนิบาต แห่งอังตุตตรนิกาย ชื่อว่ามโนรถปูรณี

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขมสูตร ๒. เขมปัตตสูตร ๓. อมตสูตร ๔. อมตปัตตสูตร ๕. อภยสูตร ๖. อภยปัตตสูตร ๗. ปัสสัทธิสูตร ๘. อนุปุพพปหายภัพพสูตร และอรรถกถา

จบ เขมวรรควรรณนาที่ ๑