พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. นิวรณสูตร - ๓. กามคุณสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39734
อ่าน  371

พระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 907

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สติปัฏฐานวรรคที่ ๒

๒. นิวรณสูตร

๓. กามคุณสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 907

๒. นิวรณสูตร

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาปาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล.

จบ นิวรณสูตรที่ ๒

๓. กามคุณสูตร

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้ แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้แล.

จบ กามคุณสูตรที่ ๓