พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อุทธัมภาคิยสูตร - ๙. เจโตขีลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39740
อ่าน  333

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 910

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สติปัฏฐานวรรคที่ ๒

๘. อุทธัมภาคิยสูตร

๙. เจโตขีลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 910

๘. อุทธัมภาคิยสูตร

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล.

จบ อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๘

๙. เจโตขีลสูตร

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสังสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อ ความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๒ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 911

ในพระสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๓ ในสิกขา ฯลฯเป็นเป็นตะปูตรึงในประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ มีจิตขัดเคือง ผูกใจ เจ็บ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ มีจิตขัดเคือง ผูกใจเจ็บในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้.

จบ เจโตขีลสูตรที่ ๙