พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. วินิพันธสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 พ.ย. 2564
หมายเลข  39742
อ่าน  380

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 911

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สติปัฏฐานวรรคที่ ๒

๑๐. วินิพันธสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 911

๑๐. วินิพันธสูตร

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกจิต ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหา ในการทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุใด ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจาก ความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย อังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหา ในกาม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 912

ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ ประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม จิตของภิกษุย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นธรรมเครื่องผูกจิตประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยัง ไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจาก ความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจาก ตัณหาในการ... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกจิตประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจาก ความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจาก ตัณหาในรูป... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องพอแก่ความต้อง การแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ในการเอน ในการหลับ อยู่... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งความ ปรารถนาเป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งว่า ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยตั้งความปรารถนา เป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งว่า ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง จิต ของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 913

เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิต ประการที่ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล.

จบ วินิพันธสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิกขาสูตร ๒. นิวรณสูตร ๓. กามคุณสูตร ๔. อุปาทานขันธสูตร ๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร ๗. มัจฉริยสูตร ๘. อุทธัมภาคิยสูตร ๙. เจโตขีลสูตร ๑๐. วินิพันธสูตร.

จบ สติปัฏฐานวรรคที่ ๒