พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สันตสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ย่อมก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39758
อ่าน  344

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 17

ปฐมปัณณาสก์

อานิสังสวรรคที่ ๑

๙. สันตสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ย่อมก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 17

๙. สันตสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ย่อมก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เป็นผู้มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท เข้าสู่บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 18

แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูปเพราะล่วงรูปเสียได้ด้วยกายอยู่ ถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูปเพราะล่วงรูปเสียได้ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ฯลฯ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตตปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบและเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.

จบสันตสูตรที่ ๙

อรรถถาสันตสูตรที่ ๙

สันตสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สนฺตา ได้แก่ สงบ เพราะมีอารมณ์สงบบ้าง เพราะมีองค์สงบบ้าง ที่ได้ชื่ออย่างนี้ว่า วิโมกข์ ก็เพราะพ้นไปจากธรรมที่เป็นข้าศึก และเพราะเหตุหลุดพ้นด้วยดีโดยปราศจากสงสัยในอารมณ์. บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 19

อติกฺกมฺม รูเป ได้แก่ ล่วงรูปฌานเป็นไป. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง มีความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสันตสูตรที่ ๙

จบอานิสังสวรรคที่ ๑