๒. อังคสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอุดมบุรุษ
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 25
ปฐมปัณณาสก์
นาถกรณวรรคที่ ๒
๒. อังคสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ละองค์๕ ประกอบด้วยองค์๕ เป็นอุดมบุรุษ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 25
๒. อังคสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอุดมบุรุษ
[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑ ละพยาบาทได้แล้ว ๑ ละถีนมิทธะได้แล้ว ๑ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 26
ด้วยองค์ ๕ อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่าผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.
"กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอันเป็นของพระอเสขะ ด้วยสมาธิอันเป็นของพระอเสขะ ด้วยปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ ภิกษุนั้นแลเป็นผู้ละองค์ ๕ สมบูรณ์แล้ว ด้วยองค์ ๕ ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้."
จบอังคสูตรที่ ๒
อรรถกถาอังคสูตรที่ ๒
อังคสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เกวลี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณหมดทั้งสิ้น. บทว่า วุสิตวา แปลว่า ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. บทว่า อเสกฺเขน ได้แก่ โลกุตรธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 27
ที่นับเนื่องในอเสกขธรรม. บทว่า สีลกฺขนฺเธน แปลว่า ด้วยกองศีล. ในบทว่า วิมุตฺติกฺขนฺเธน นี้ เว้นศีลเป็นต้นเสีย ผลธรรมที่เหลือทั้ง ๓ ชื่อว่าวิมุตติ. วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ ปัจจเวกขณญาณนั้นเป็นโลกียะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาอังคสูตรที่ ๒