พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. สังโยชนสูตร ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39762
อ่าน  352

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 27

ปฐมปัณณาสก์

นาถกรณวรรคที่ ๒

๓. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 27

๓. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือสังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ เป็นไฉน คือสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้. สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน คือรูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล.

จบสังโยชนสูตรที่ ๓

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๓

สังโยชนสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โอรมฺภาคิยานิ แปลว่า เป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า อุทฺธมฺภาคิยานิ แปลว่า เป็นส่วนเบื้องบน. ในสูตรนี้ ท่านกล่าววัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๓