พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ ๕ เครื่องผูกพันใจ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39763
อ่าน  363

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 28

ปฐมปัณณาสก์

นาถกรณวรรคที่ ๒

๔. ขีลสูตร

ว่าด้วยตะปูตรึงใจ ๕ เครื่องผูกพันใจ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 28

๔. ขีลสูตร

ว่าด้วยตะปูตรึงใจ ๕ เครื่องผูกพันใจ ๕

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความเจริญเลย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้แล้ว เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อการกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตะปูตรึงใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตะปูตรึงใจประการที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตะปูตรึงใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุผู้ที่มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 29

เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตะปูตรึงใจประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมโกรธ ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะประทุษร้าย มีจิตกระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตะปูตรึงใจประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดแล้ว เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 30

เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในกาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในรูป จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ย่อมประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 31

อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือเป็นภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความเจริญเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงพระจันทร์ในกาฬปักษ์ พระจันทร์นั้นย่อมเสื่อมไปจากสี ย่อมเสื่อมจากมณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากความยาวและความกว้าง แม้ฉันใด ตะปูตรึงไว้ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 32

เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความเสื่อมเลย.

ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ เลื่อมใสพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตะปูตรึงใจ ประการที่ ๑ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่โกรธ พอใจ มีจิตอันโทสะไม่ประทุษร้าย มีจิตไม่กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันภิกษุมีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 33

แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นละได้แล้ว.

เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้นตัดได้ขาดแล้ว เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการ ที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก ในกาย ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก ในรูป ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 34

เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นตัดได้ขาดแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือเป็นภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ นี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความเสื่อมเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงพระจันทร์ในชุณหปักษ์ พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยสี ย่อมเจริญด้วยมณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือเป็นภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบขีลสูตรที่ ๔

อรรถกถาขีลสูตรที่ ๔

ขีลสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 35

กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู กล่าวไว้พิสดารแล้วในปัญจกนิบาต. บทว่า อาโรหปริณาเหน ได้แก่ โดยส่วนสูงและกว้าง.

จบอรรถกถาขีลสูตรที่ ๔