พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมอริยวสสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39768
อ่าน  420

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 48

ปฐมปัณณาสก์

นาถกรณวรรคที่ ๒

๙. ปฐมอริยวสสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 48

๙. ปฐมอริยวสสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการ

[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ๑ ประกอบด้วยองค์หก ๑ รักษาแต่อย่างเดียว ๑ มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ ๑ มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว ๑ มีการแสวงหาอันสละเสียแล้วด้วยดี ๑ มี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 49

ความดำริไม่ขุ่นมัว ๑ มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว ๑ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้แล.

จบปฐมอริยวสสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมอริยวสสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อริยวาสา ได้แก่ ที่ชื่อว่า อริยวาส ก็เพราะเป็นที่ๆ พระอริยะทั้งหลายอยู่แล้ว กำลังอยู่ จักอยู่จบพรหมจรรย์. คำว่า ยทริยา ตัดบทว่า เย วาเส อริยา.

จบอรรถกถาปฐมอริยวสสูตรที่ ๙