พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อธิมุตติสูตร ว่าด้วยกําลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39771
อ่าน  389

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 70

ปฐมปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๓

๒. อธิมุตติสูตร

ว่าด้วยกําลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 70

๒. อธิมุตติสูตร

ว่าด้วยกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ

[๒๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีภาคภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 71

ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งอธิมุตติบทเหล่านั้น ดูก่อนอานนท์ เราเป็นผู้แกล้วกล้าปฏิญาณในธรรมเหล่านั้น เพื่ออันรู้ที่อาศัยของธรรมเหล่านั้นๆ แล้วแสดงธรรมโดยประการที่บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว จักรู้ซึ่งธรรมที่มีอยู่ว่า มีอยู่บ้าง จักรู้ซึ่งธรรมอันไม่มีอยู่ว่า ไม่มีอยู่บ้าง จักรู้ซึ่งธรรมเลวว่า เลวบ้าง จักรู้ซึ่งธรรมประณีตว่า ประณีตบ้าง จักรู้ซึ่งธรรมอันมีธรรมอื่นยิ่งกว่าว่า มีธรรมอื่นยิ่งกว่าบ้าง จักรู้ซึ่งธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าว่า ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าบ้าง ก็หรือว่าจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้ง โดยประการที่ธรรมนั้น อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น หรือพึงทำให้แจ้ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ ยถาภูตญาณในธรรมเหล่านั้นๆ เป็นยอดเยี่ยมกว่าญาณทั้งหลาย อนึ่ง เรากล่าวว่า ญาณอื่นอันยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณนี้ไม่มี.

ดูก่อนอานนท์ ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังแห่งตถาคตเหล่านั้นมี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะและอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ตามเป็นจริง ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะและอฐานะโดยเป็นอฐานะตามเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 72

กระทำทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวงตามเป็นจริง ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวงตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลกอันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ ตามเป็นจริง ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งโลกอันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ ตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กันตามเป็นจริง ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กันตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นตามเป็นจริง ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นตามเป็นจริง นี้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 73

เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริง ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 74

หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนอานนท์ การที่ตถาคตทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.

ดูก่อนอานนท์ ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังของตถาคตเหล่านั้นมี ๑๐ ประการนี้แล.

จบอธิมุตติสูตรที่ ๒

อรรถกถาอธิมุตติสูตรที่ ๒

อธิมุตติสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เย เต ธมฺมา ได้แก่ ธรรม คือพระทศพลญาณและพระสัพพัญญุตญาณเหล่านั้นใด. บทว่า อธิมุตฺติปทานํ ได้แก่ บท คือชื่อ อธิบายว่า ธรรม คือขันธ์อายตนะธาตุ. แท้จริง ชื่อ ท่านเรียกว่าอธิมุตติ เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งเทศนา อันเป็นบทแห่งธรรมเหล่านั้นๆ. จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว (อดีต) ก็ตรัสธรรมเหล่านั้นเหมือนกัน แม้พระพุทธเจ้าที่ยังไม่มา (อนาคต) ก็จักตรัสธรรมเหล่านั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น จึงชื่อว่า อธิมุตติบท. อธิมุตติบทเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อธิมุตติ เพราะครอบงำความเป็นจริง ไม่ยึดถือตามความเป็นจริง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 75

เป็นไป. บทแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ชื่อว่าอธิมุตติบท อธิบายว่า ถ้อยคำที่แสดงทิฏฐิ. แห่งอธิมุตติบทเหล่านั้น.

บทว่า ทิฏฺิโวหารา อภิญฺาสจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การรู้แล้วทำให้ประจักษ์. บทว่า วิสารโท ได้แก่ ถึงโสมนัสที่ประกอบด้วยกาย. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในธรรมเหล่านั้น. บทว่า เตสํ เตสํ ตถา ตถา ธมฺมํ เทเสตุํ ความว่า เพื่อทรงรู้อาสยะ อัธยาศัยที่ดีของเหล่าสัตว์นั้นๆ ผู้มีทิฏฐิ หรือนอกจากนี้ แล้วทรงแสดงธรรมโดยประการนั้นๆ. บทว่า หีนํ วา หีนนฺติ สฺสต ความว่า หรือจักรู้ธรรมเลวว่าเป็นธรรมเลว. บทว่า าตยฺยํ แปลว่า พึงรู้. บทว่า ทิฏฺิยฺยํ แปลว่า พึงเห็น. บทว่า สจฺฉิกตยฺยํ แปลว่า พึงทำให้แจ้ง. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ยถาภูตาณํ ได้แก่ ญาณที่รู้ตามความเป็นจริงในธรรมนั้น ทรงแสดงพระสัพพัญญุตญาณอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแสดงพระทศพลญาณอีก จึงตรัสว่า ทสยิมานิ เป็นต้น. จริงอยู่ แม้พระทศพลญาณ ก็คือพระญาณที่รู้ตามเป็นจริงในธรรมนั้นๆ นั่นเอง.

จบอรรถกถาอธิมุตติสูตรที่ ๒