พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. กสิณสูตร ว่าด้วยกสิณ ๑๐

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39774
อ่าน  488

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 85

ปฐมปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๓

๕. กสิณสูตร

ว่าด้วยกสิณ ๑๐


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 85

๕. กสิณสูตร

ว่าด้วยกสิณ ๑๐

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง ปฐวีกสิณ ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง อาโปกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง เตโชกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง วาโยกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง นีลกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง ปีตกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง โลหิตกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง โอทาตกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง อากาสกสิณ ฯลฯ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง วิญญาณกสิณ ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล.

จบกสิณสูตรที่ ๕

อรรถกถากสิณสูตรที่ ๕

กสิณสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่าทั้งสิ้น ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นเขตแห่งธรรมทั้งหลายที่มีกสิณนั้นเป็นอารมณ์ หรือเพราะอรรถว่าตั้ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 86

ไว้. เหตุนั้น จึงชื่อว่า กสิณายตนะ บ่อเกิดแห่งอารมณ์ที่เป็นกสิณ. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ แหงนดูพื้นอากาศเบื้องบน. บทว่า อโธ ได้แก่ ก้มดูพื้นดินเบื้องล่าง. บทว่า ติริยํ ได้แก่ กำหนดไปรอบๆ อย่างทุ่งนา. จริงอยู่ พระโยคาวจรบางรูป เจริญกสิณเบื้องบนเท่านั้น บางรูปก็เบื้องล่าง บางรูปก็กวาดไปอย่างนี้ด้วยอาการนั้นๆ ไปรอบๆ เหมือนต้องการจะดูรูปที่มีแสงสว่าง ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ปวีกสิณเมโก สญฺชานาติ อุทฺธํ อโธ ติริยํ. ก็บทว่า อทฺวยํ นี้ ท่านกล่าวเพื่อกสิณอย่างหนึ่งไม่แปรเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า เมื่อพระโยคาวจรเข้าไปสู่น้ำ (อาโปกสิณ) ทุกทิศก็มีน้ำอย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่น ฉันใด. ปฐวีกสิณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นปฐวีกสิณอย่างเดียว ไม่เจือกสิณอย่างอื่น ในกสิณทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า อปฺปมาณํ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแผ่กสิณนั้นๆ ไป ไม่มีประมาณ. จริงอยู่ พระโยคาวจรเมื่อแผ่กสิณนั้นด้วยใจ ย่อมแผ่ไปทั่วทีเดียว ไม่ถือประมาณว่า นี้เป็นตอนต้นของกสิณนั้น นี้เป็นตอนกลาง. ในบทว่า วิญฺาณกสิณํ นี้ วิญญาณเป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณจริงอย่างนั้น วิญญาณอันนั้น ท่านเรียกว่าวิญญาณ. พึงทราบความเป็นเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในวิญญาณที่เป็นไปในวิญญาณกสิณนั้น ก็ด้วยอำนาจอากาศที่เพิกกสิณ. นี้เป็นความสังเขปในวิญญาณกสิณนั้น. ส่วนกสิณมีปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยนัยแห่งกัมมัฏฐานภาวนานั้นแล.

จบอรรถกถากสิณสูตรที่ ๕