๖. กาลีสูตร ว่าด้วยกาลีอุบาสิกาถามปัญหาท่านพระมหากัจจายนะ
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 87
ปฐมปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๓
๖. กาลีสูตร
ว่าด้วยกาลีอุบาสิกาถามปัญหาท่านพระมหากัจจายนะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 87
๖. กาลีสูตร
ว่าด้วยกาลีอุบาสิกาถามปัญหาท่านพระมหากัจจายนะ
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่ภูเขาชื่อปวัตตะ ใกล้เมืองกุรรฆระ ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสิกาชื่อกาลีชาวเมืองกุรรฆระได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้อภิวาทท่านพระมหากัจจายนะแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหากัจจยนะว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในกุมารีปัญหาว่า
การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะเสนา คือกิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความเป็นเพื่อนกับด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วยใครๆ ย่อมไม่ถึงพร้อมแก่เรา ดังนี้.
ท่านเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อนี้จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไรหนอ.
ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณเท่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วซึ่งความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 88
เป็นอย่างยิ่งนั้น ครั้นทรงรู้แล้ว ได้ทรงเห็นเบื้องต้น (๑) ได้ทรงเห็นโทษ (๒) ได้ทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก (๓) ได้ทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง (๔) การบรรลุประโยชน์ เพราะเหตุทรงเห็นเบื้องต้น เพราะเหตุทรงเห็นโทษ เพราะเหตุทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก เพราะเหตุทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง แห่งความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้วว่า เป็นความสงบแห่งหทัย.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีอาโปกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีเตโชกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีวาโยกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีนีลกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีปีตกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีโลหิตกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีโอทาตกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
(๑) สมุทยสัจ. (๒) ทุกขสัจ. (๓) นิโรธสัจ. (๔) มรรคสัจ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 89
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีอากาสกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว.
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ความที่ประโยชน์มีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณเท่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วซึ่งความที่ประโยชน์มีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น ครั้นทรงรู้แล้ว ได้ทรงเห็นเบื้องต้น ได้ทรงเห็นโทษ ได้ทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก ได้ทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง การบรรลุประโยชน์เพราะเหตุทรงเห็นเบื้องต้น เพราะเหตุทรงเห็นโทษ เพราะเหตุทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก เพราะเหตุทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง แห่งความที่ประโยชน์มีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้วว่า เป็นความสงบแห่งหทัย.
ดูก่อนน้องหญิง พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในกุมารีปัญหาว่า
"การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะเสนา คือกิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความเป็นเพื่อนกับด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วยใครๆ ย่อมไม่มีแก่เรา ดังนี้."
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงเห็นโดยพิสดาร อย่างนี้แล.
จบกาลีสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 90
อรรถกถากาลีสูตรที่ ๖
กาลีสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กุมารีปญฺเหสุ ได้แก่ ในคำถามของธิดามารผู้ยังสาว. ตรัสพระอรหัตอย่างเดียว ด้วยบททั้งสองว่า อตฺถสฺส ปตฺติ หทยสฺส สนฺติ การบรรลุประโยชน์เป็นความสงบแห่งพระหฤทัย. บทว่า เสนํ ได้แก่ กองทัพกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า ปิยสาตรูปํ ได้ชื่ออย่างนี้ ก็เพราะกิเลสเกิดในวัตถุทั้งหลาย ที่น่ารัก และน่าชื่นใจ. บทว่า เอโกหํ ฌายี สุขมานุโพธิํ ความว่า เราผู้เดียวเท่านั้น (รู้จักกองทัพกิเลสอย่างนี้แล้ว) จึงเข้าฌานตรัสรู้ได้โดยง่าย. บทว่า สกฺขิํ ความว่า ได้แก่ ประจักษ์ธรรมที่ถึงความเป็นประจักษ์พยาน. บทว่า สกฺขี น สมฺปชฺชติ เกนจีเม ความว่า เราไม่มีมิตรธรรมกับใครๆ.
บทว่า ปวีกสิณสมาปตฺติปรมา โข ภคินิ เอเก สมณพฺราหฺมณา อตฺถาภินิพฺพตฺเตสุํ ความว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยึดถือว่าปฐวีกสิณสมาบัติเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสูงสุด จึงทำให้เกิด. บทว่า ยาวตา โข ภคินิ ปวีกสิณสมาปตฺติปรมตา ความว่า ความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติมียอดสูงสุด ประมาณเพียงใด. บทว่า ตทภิญฺาสิ ภควา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณสมาบัตินั้น ด้วยความรู้ยิ่งซึ่งประโยชน์นั้น ด้วยพระปัญญา. บทว่า อาทิมทฺทสฺส ได้แก่ ได้ทรงเห็นสมุทยสัจ. บทว่า อาทีนวมทฺทสฺส ได้แก่ ได้ทรงเห็นทุกขสัจ. บทว่า นิสฺสรณมทฺทสฺส ได้แก่ ได้ทรงเห็นนิโรธสัจ. บทว่า มคฺคามคฺคาณทสฺสนมทฺทสฺส ได้แก่ ทรงเห็นมรรคสัจ. บทว่า อตฺถสฺส ปตฺติ ได้แก่