พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร ว่าด้วยปัญหา อุเทศ ไวยากรณ์อย่างละ ๑ ถึง ๑๐

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39776
อ่าน  374

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 91

ปฐมปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๓

๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหา อุเทศ ไวยากรณ์อย่างละ ๑ ถึง ๑๐


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 91

๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหา อุเทศ ไวยากรณ์อย่างละ ๑ ถึง ๑๐

[๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้าพระภิกษุเป็นอันมากนุ่งสบงแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายพึงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนีของพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 92

สมณโคดม หรือของพวกเรา ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งสบงแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนคร สาวัตถี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด พวกข้าพระองค์ได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 93

สาสนีกับอนุสาสนีของพระโคดม หรือของพวกเรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้ว จักไม่ยังพยากรณ์ให้ถึงพร้อมได้ จักถึงความลำบากแม้อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นถูกถามในปัญหาอันมิใช่วิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากสาวกของตถาคตนี้ ก็คำที่ เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 94

อย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือสัตว์ทั้งปวงเป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือในนาม ๑ ในรูป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือในเวทนา ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 95

๓ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือในอาหาร ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือในอุปทานขันธ์ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลาย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 96

กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๖ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือในอายตนะภายใน ๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๖ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในวิญญาณฐิติ ๗ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือในโลกธรรม ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 97

มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือในสัตตาวาส ๙ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

จบปฐมมหาปัญหาสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 98

อรรถกถาปฐมมหาปัญหาสูตรที่ ๗

ปฐมมหาปัญหาสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิชานาถ ได้แก่ รู้ยิ่ง ทำให้ประจักษ์อยู่. บทว่า อภิญฺาย แปลว่า รู้ยิ่ง. บทว่า อิธ แปลว่า ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้. บทว่า ธมฺมเทสนาย วา ธมฺมเทสนํ ความว่า พวกเดียรถีย์กล่าวว่า พวกท่านปรารถนาธรรมเทศนาของเรากับพระธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือพระธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของเรา แล้วกล่าวว่าต่างกัน ก็ต่างกันอย่างไรเล่า. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ดังนั้นพวกเดียรถีย์เหล่านั้นจึงตั้งลัทธิของตนเทียบกับพระศาสนาว่ามีธุระเสมอกันเพียงด้วยคำพูด เหมือนตั้งแท่งทองที่กลวงไว้ฉะนั้น. บทว่า เนว อภินนฺทิํสุ ได้แก่ ไม่รับรองว่าข้อนั้นเป็นอย่างนั้น. บทว่า น ปฏิกฺโกสิํสุ ได้แก่ ไม่ปฏิเสธว่าข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น. เพราะเหตุไร. ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้นไม่รับรอง ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์เป็นพวกคนบอด รู้หรือไม่รู้ ก็พูดไป. บทว่า เนว สมฺปายิสฺสนฺติ ได้แก่ จักตอบไม่ได้.

บทว่า อุตฺตริํปิ วิฆาตํ ได้แก่ จักประสบทุกข์ยิ่งขึ้น เพราะตอบไม ได้. เมื่อพวกเดียรถีย์ตอบไม่ได้ ก็เกิดทุกข์. ก็คำว่า ตํ ในบาลีว่า ยถาตํ ภิกฺขเว อวิสยสฺมิํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยถา เป็นคำกล่าวถึงเหตุ. อธิบายว่า พวกเดียรถีย์ถูกถามปัญหาในสิ่งที่มิใช่วิสัย เพราะเหตุใด. บทว่า อิโต วา ปน สุตฺวา แปลว่า ก็หรือว่า ฟังจากศาสนาของเรานี้. จริงอยู่ เขาฟังจากศาสนานี้ คือจากพระตถาคตบ้าง จากสาวกของพระตถาคตบ้าง. บทว่า อาราเธยฺเย แปลว่า พึงยินดี. พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 99

ทรงแสดงว่า ชื่อว่าความยินดีโดยประการอื่นไม่มี. บทว่า เอกธมฺเม แปลว่า ในธรรมอย่างหนึ่ง. ทรงแสดงอุเทศด้วยบทนี้.

โดยปรนัย ทรงแสดงปัญหาด้วยบทนี้ ว่า กตมสฺมิํ เอกธมฺเม. ก็คำว่า สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺิติกา นี้ เป็นคำไวยากรณ์ตอบในข้อนี้. แม้ในปัญหาที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในคำว่า สมฺมา นิพฺพินฺทมาโน เป็นต้น ความว่า เมื่อหน่าย คือถอนขึ้นด้วยนิพพิทาวิปัสสนาญาณ คลายกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนาญาณ รู้อุบายแห่งการหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือหลุดพ้นด้วยสามารถอธิโมกข์ กระทำความตกลงใจโดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย. ชื่อว่า มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ เพราะกำหนดด้วยความเกิดและความเสื่อมแล้ว เห็นเบื้องต้นเบื้องปลาย. บทว่า สมฺมตฺถาภิสเมจฺจ ได้แก่ ตรัสรู้ประโยชน์แห่งสภาวะโดยชอบด้วยญาณ. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ ได้แก่ กระทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น. บทว่า สพฺเพ สตฺตา ได้แก่ สัตว์ทุกชนิด ในภพทุกภพ มีกามภพเป็นต้น มีสัญญาภพเป็นต้น และมีเอกโวการภพเป็นต้น. บทว่า อาหารฏฺิติกา ได้แก่ สัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าอาหารัฏฐิติกา เพราะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร. ธรรมอย่างหนึ่งชื่อว่า อาหาร เพราะเป็นเหตุตั้งอยู่แห่งสัตว์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. ในธรรมอย่างหนึ่งนั้น. ถามว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คำใดตรัสว่า เทพอสัญญีสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะเป็นต้น คำนั้น ก็ผิดมิใช่หรือ. ตอบว่า ไม่ผิด. เพราะฌานของอสัญญีสัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นอาหาร. ถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ แม้นี้ ก็ผิดน่ะสิ. ตอบว่า ไม่ผิด. เพราะในพระสูตรนั้น ธรรมทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 100

ที่มีลักษณะเป็นอาหาร ตรัสว่า อาหารโดยตรง. ส่วนในพระสูตรนี้ ปัจจัยทั้งหลายตรัสว่า อาหารโดยอ้อม. จริงอยู่ ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหมดควรได้ชื่อว่าอาหาร ด้วยว่าปัจจัยนั้นยังผลใดๆ ให้เกิด ก็ชื่อว่าย่อมนำผลนั้นๆ มา เพราะฉะนั้น ปัจจัยท่านจึงเรียกว่า อาหาร. ด้วยเหตุนั้น นั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้อวิชชาก็มีอาหาร ไม่กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕. ในพระสูตรนี้ ทรงประสงค์เอาปัจจยาหารนี้. ก็เมื่อทรงถือเอาปัจจยาหารอย่างหนึ่งแล้ว ทั้งอาหารโดยอ้อม ทั้งอาหารโดยตรง ก็เป็นอันทรงถือเอาทั้งหมดเลย. ในอสัญญีภพนั้น ก็ย่อมได้ปัจจยาหาร. เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ สัตว์ทั้งหลายบวชในลัทธิเดียรถีย์ ทำบริกรรมในวาโยกสิณ ทำฌานให้บังเกิด ออกจากฌานนั้นแล้ว เกิดชอบใจ พอใจว่า จิตนี้หนอ ไม่มีจิตเสียได้ น่าจะดี เพราะอาศัยจิต จึงเกิดทุกข์ มีการฆ่า การจองจำเป็นต้นเป็นปัจจัย เมื่อไม่มีจิต ทุกข์นั้นก็ไม่มี ดังนี้ แล้วยังไม่เสื่อมฌาน ทำกาละ (ตาย) ก็บังเกิดในอสัญญีภพ. อิริยาบถอันใด อันผู้ใดตั้งไว้แล้วในมนุษยโลก ผู้นั้นบังเกิดตามอิริยาบถนั้น เป็นเสมือนรูปจิตรกรรมตั้งอยู่ ๕๐๐ กัป เป็นเหมือนนอนนานถึงเพียงนี้ฉะนั้น. เหล่าสัตว์เห็นปานนี้ ก็ได้ปัจจัยเป็นอาหาร. จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใดๆ เกิดแล้ว ฌานนั้นนั่นแหละเป็นปัจจัยของสัตว์เหล่านั้น. ลูกศรที่ยิงไป เพราะแรงเร็วแห่งสายตราบใด แรงเร็วแห่งสายยังมีอยู่ ลูกศรก็ยังแล่นไปได้ตราบนั้น ฉันใด ตราบใดที่ปัจจัยแห่งฌานยังมีอยู่ ตราบนั้นสัตว์ทั้งหลายก็ตั้งอยู่ได้ ฉันนั้น เมื่อปัจจัยแห่งฌานนั้นจบสิ้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ตกไป

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 101

(คือต้องจุติไป) เหมือนลูกศรที่สิ้นแรงเร็วฉะนั้น ถามว่า สัตว์นร เหล่าใด ท่านกล่าวว่า มิใช่อาศัยผลแห่งความหมั่นเป็นอยู่ มิใช่อาศัยผลแห่งบุตรเป็นอยู่ สัตว์นรกเหล่านั้น มีอะไรเป็นอาหาร. ตอบว่า สัตว์นรก เหล่านั้นมีกรรมอย่างเดียวเป็นอาหาร. ถามว่า อาหารมี ๕ หรือ ตอบว่า ไม่ควรพูดว่าอาหารมี ๕ อาหารมีไม่ถึง ๕. ถามว่า ปัจจัยเป็นอาหารมิใช่หรือ. ตอบว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายบังเกิดในนรกเพราะกรรมใด กรรมนั้นนั่นแหละเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยแห่งการตั้งอยู่ได้แห่งสัตว์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านหมายเอากรรมใด จึงกล่าวคำนี้ สัตว์นรกจะยังไม่ทำกาละตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น. แม้ปรารภกวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ก็ไม่ควรขัดแย้งกันในเรื่องอาหารนี้. ความจริง แม้น้ำลายที่เกิดขึ้นในปาก ก็สำเร็จกิจเป็นอาหารสำหรับสัตว์เหล่านั้น. ด้วยว่า น้ำลายก็เป็นทุกขเวทนียปัจจัย ปัจจัยที่ให้เสวยทุกข์ในนรก เป็นสุขเวทนียปัจจัย ปัจจัยที่ให้เสวยสุขในสวรรค์. ด้วยเหตุนี้ ในกามภพจึงมีอาหาร ๔ โดยตรง ในบรรดารูปภพและอรูปภพ เว้นอสัญญภพ อาหาร ๓ ย่อมมีแก่พรหมที่เหลือ ปัจจยาหารย่อมมีแก่อสัญญสัตว์และสัตว์ที่เหลือ เพราะเหตุนั้น จึงควรทราบว่า สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร โดยทำนองนี้. ในเรื่องอาหารนั้น พึงทำการประกอบความในที่ทุกแห่ง โดยอำนาจสัจจะ ๔ อย่างนี้ว่า อาหาร ๔ หรือปัจจยาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกขสัจ. ตัณหาก่อนๆ ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐาน เป็นสมุทยสัจ. ความไม่เป็นไปแห่งสัจจะทั้ง ๒ เป็นนิโรธสัจ. ปัญญาที่รอบรู้นิโรธสัจ เป็นมรรคสัจ.

จบอรรถกถาปฐมมหาปัญหาสูตรที่ ๗