พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมอุปาลิสูตร ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประโยชน์ ๑๐ ประการ ทรงบัญญัติสิกขาบทและแสดงปาติโมกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39780
อ่าน  354

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 126

ปฐมปัณณาสก์

อุปาลิวรรคที่ ๔

๑. ปฐมอุปาลิสูตร

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประโยชน์ ๑๐ ประการ ทรงบัญญัติสิกขาบทและแสดงปาติโมกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 126

อุปาลิวรรคที่ ๔

๑. ปฐมอุปาลิสูตร

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประโยชน์ ๑๐ ประการ ทรงบัญญัติสิกขาบทและแสดงปาติโมกข์

[๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอแล จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการแล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย. ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเพื่อความตั้งอยู่ด้วยดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อการอยู่สำราญแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในสัมปรายภพ ๑ เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเจริญยิ่งแห่งความเลื่อมใสของบุคคลทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์วินัย ๑ ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.

จบปฐมอุปาลิสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 127

อุปาลิวรรคที่ ๔

อรรถกถาปฐมอุปาลิสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๔ อุปาลิสูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย ได้แก่ ความที่สงฆ์รับว่าดี คือความที่สงฆ์รับรองด้วยคำที่น่ารักว่า สุฏฺฐุ ภนฺเต ดีละ พระเจ้าข้า เหมือนในอาคตสถานว่า สุฏฺฐุ เทว ดีละ เทวะ. ก็สงฆ์ใดรับรองพระดำรัสของพระตถาคต อันนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สงฆ์นั้นตลอดกาล เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ก็เพื่อสงฆ์รับรองด้วยคำที่น่ารักว่า สุฏฺฐุ ภนฺเต ดีละ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษในการไม่รับรอง และอานิสงส์ในการรับรองแล้ว เมื่อทรงกระทำให้แจ่มแจ้งข้อความนี้ว่า มิได้ทรงถืออำนาจโดยพลการ จึงตรัสว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย. บทว่า สงฺฆผาสุตาย ได้แก่ เพื่อความผาสุก เพื่อความมีชีวิตร่วมกันแห่งสงฆ์ อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุข.

บทว่า ทุมฺมงฺกูนํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่าผู้เก้อยาก. คนเหล่าใด แม้ถูกเขาทำให้ถึงความเก้อเขิน ก็ไม่ทุกข์ร้อน หรือกระทำการล่วงละเมิดสิกขาบท หรือทำแล้วก็ไม่ละอาย เพื่อประโยชน์แก่การข่มบุคคลเหล่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทมีอยู่ ก็จักเบียดเบียนสงฆ์ว่า พวกท่านเห็นอะไร ได้ยินอะไร พวกผมทำอะไร พวกท่านจึงยกอาบัติอันไหน ในวัตถุอันไหนขึ้นมาข่มพวกผม ก็เมื่อสิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักแสดงสิกขาบทแก่ภิกษุเหล่านั้นข่มโดยสหธรรมด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย เพื่อข่มบุคคล

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 128

ผู้เก้อยาก. บทว่า เปสลานํ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ผาสุกของเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก. จริงอยู่ ภิกษุผู้ศีลเป็นที่รัก ไม่รู้ข้อที่ควรทำและไม่ควรทำ ข้อที่มีโทษและไม่มีโทษและขอบเขต พยายามทำไตรสิกขาให้บริบูรณ์ย่อมลำบาก แต่ภิกษุเหล่านั้นรู้ข้อที่มีโทษและไม่มีโทษและขอบเขต พยายามทำไตรสิกขาให้บริบูรณ์ย่อมไม่ลำบาก ด้วยเหตุนั้น การบัญญัติสิกขาบทจึงเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขแห่งภิกษุเหล่านั้น หรือการข่มบุคคลผู้เก้อยากนั่นแหละเป็นการอยู่เป็นสุขแห่งภิกษุเหล่านั้น อาศัยบุคคลผู้เก้อยาก อุโบสถและปวารณาก็ตั้งอยู่ไม่ได้ สังฆกรรมก็เป็นไปไม่ได้ ไม่มีความสามัคคีกัน ภิกษุทั้งหลายที่มีอารมณ์มาก ก็ประกอบอุเทศเป็นต้นไม่ได้ แต่เมื่อบุคคลผู้ทุศีลถูกข่มเสียแล้ว อุปัทวะนี้แม้ทั้งหมดก็ไม่มี แต่นั้นภิกษุผู้น่ารักย่อมอยู่ผาสุก. ในคำว่า เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย นี้ พึงทราบความสองส่วน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ทิฏฺธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย ความว่า ทุกข์พิเศษ มีการประหารด้วยฝ่ามือ ประหารด้วยท่อนไม้ ประหารด้วยศัสตรา ตัดมือ ตัดเท้า เสื่อมเกียรติ เสื่อมยศ และความร้อนใจ เป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่สังวร พึงถึงในอัตภาพนั้นเท่านั้น ชื่อว่าอาสวะที่เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อป้องกันปิดกั้น คือสกัดทางมาแห่งอาสวะที่เป็นไปในปัจจุบันนั้น. บทว่า สมฺปรายิกานํ ความว่า ทุกข์พิเศษอันมีบาปกรรมที่ทำแล้วเป็นมูล อันผู้ตั้งอยู่ในความไม่สังวร พึงถึงในอบายมีนรกเป็นต้นในภพภายหน้า ชื่อว่าอาสวะที่เป็นในภายหน้า เพื่อประโยชน์แก่การระงับอาสวะที่เป็นไปในภายภาคหน้าเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 129

บทว่า อปฺปสนฺนานํ ความว่า เมื่อมีการบัญญัติสิกขาบท มนุษย์แม้เหล่าใดที่เป็นบัณฑิตที่ยังไม่เลื่อมใส รู้การบัญญัติสิกขาบท หรือเห็นภิกษุปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ มนุษย์เหล่านี้ย่อมถึงความเลื่อมใสว่า สมณะเหล่านี้งดเว้นจากฐานที่ตั้งแห่งความรักความโกรธความหลงแห่งมหาชนในโลกอยู่ ชื่อว่ากระทำกิจที่ทำได้ยากหนอ เห็นคัมภีร์ในพระวินัยปิฎกก็เลื่อมใส เหมือนกตเวทิพราหมณ์ผู้มิจฉาทิฏฐิ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลผู้ยังไม่เลื่อมใส.

บทว่า ปสนฺนานํ ความว่า กุลบุตรแม้เหล่าใดเลื่อมใสในพระศาสนาแล้ว กุลบุตรแม้เหล่านั้นรู้การบัญญัติสิกขาบท หรือเห็นภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ย่อมเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไปว่า โอ พระผู้เป็นเจ้าที่ฉันหนเดียว รักษาพรหมจริยสังวรจนตลอดชีวิต ชื่อว่ากระทำกิจที่ทำได้ยากหนอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสนฺนานํ ภิยฺโยภาวาย เพื่อความเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว.

บทว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา ความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือ ปริยัตติสัทธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม อธิคมสัทธรรม. บรรดาสัทธรรม ๓ อย่างนั้น พุทธวจนะแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปริยัตติสัทธรรม. สัทธรรมนี้ คือธุดงค์คุณ ๑๓ จาริตศีล วาริตศีล สมาธิ วิปัสสนา ชื่อว่า ปฏิปัตติสัทธรรม. โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม. สัทธรรมนั้นแม้ทั้งหมด เพราะเหตุที่เมื่อมีบัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายย่อมเรียนสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกบทนั้น และพระพุทธวจนะอื่น เพื่อส่องความสิกขาบทและวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ บำเพ็ญข้อปฏิบัติ ย่อมบรรลุโลกุตรธรรมที่พึงบรรลุด้วยข้อปฏิบัติ ฉะนั้น พระสัทธรรมจึง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 130

ดำรงอยู่ยั่งยืนเพราะการบัญญัติสิกขาบท ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม.

บทว่า วินยานุคฺคหาย ความว่า เมื่อมีการบัญญัติสิกขาบท ก็เป็นอันอนุเคราะห์อุปถัมภ์ค้ำชูวินัย แม้ทั้ง ๔ อย่าง คือสังวรวินัย ปหานวินัย สมถวินัย บัญญัติวินัย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วินยานุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย.

จบอรรถกถาปฐมอุปาลิสูตรที่ ๑