สิ่งที่เราต้องจำใจทำแต่ไม่ชอบทำมีฉันทะเกิดขึ้นไหม

 
lokiya
วันที่  4 พ.ย. 2564
หมายเลข  39784
อ่าน  530

.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ฉันทะ เป็นปกิณณกเจตสิก คือ ฉันทะเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่พอใจ ใคร่ที่จะทำ ซึ่งเป็นไปในทางกุศล อกุศลก็ได้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่า จะเกิดร่วมกับจิตประเภทอะไรเป็นสำคัญ ครับ

แต่ก็ควรเข้าใจโดยทั่วไปว่า ฉันทะเจตสิก ก็เป็นสภาพธรรม ที่พอใจ ใคร่ที่จะทำ ที่ยังไม่ได้ติดข้อง ที่เป็นฉันทะเจตสิก แต่เมื่อใดที่เกิดความติดข้อง ขณะนั้นเป็นโลภเจตสิกที่ทำหน้าที่ และก็มีฉันทะเจตสิกเกิดร่วมด้วย ที่พอใจ ใคร่ที่จะทำในขณะนั้นด้วย ที่เกิดร่วมกันได้ ซึ่งการจะรู้ความละเอียดของความแตกต่างของสภาพธรรมทั้ง 2 อย่าง ก็ด้วยปัญญาที่ละเอียด คือ สติปัฏฐาน ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้นย่อมจะรู้ความแตกต่างของสภาพธรรมทั้งสองอย่างได้จริงๆ ครับ และ ที่สำคัญ จะต้องเริ่มรู้ก่อนครับว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว แม้มีความไ่ม่ชอบทำ ในบางอย่าง แต่ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต มีโลภะ โทสะ เป็นต้น ขณะนั้นก็มีฉันทะเจตสิก

ฉันทเจตสิก เป็นเจตสิกที่พอใจกระทำ เกิดกับจิต ๖๙ ดวง เว้นไม่เกิดกับจิต ๒๐ ดวง คือ อเหตุกจิต ๑๘ ดวง และ โมหมูลจิต ๒ ดวง ทั้งนี้เพราะอเหตุจิตเป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ส่วนโมหมูลจิตนั้นแม้ว่ามีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เมื่อไม่มีโลภเจตสิกหรือโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วยจึงไม่มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉันทเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่พอใจตามสภาพของโลภมูลจิต หรือ โทสมูลจิต หรือ จิตอื่นๆ ที่ฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ดังนั้น มีความพอใจตามโทสะ พอใจที่จะขุ่นใจต่อไป ที่ไม่ชอบงานนั้น จึงไม่ได้หมายความว่า จะต้องพอใจ มีฉันทะ ใคร่จะทำงานสิ่งนั้น แต่มีความพอใจใคร่ที่จะไม่ชอบต่อไปให้เป็นโทสะต่อไป ครับ แต่การศึกษาพระธรรมประโยชน์คือเพื่อความเข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ดังนี้ครับ

จาก การสนทนาเรื่องปฏิบัติธรรม อาทิตย์ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐

ผู้ฟัง ท่าน อ. ครับ มันแยกไม่ออกระหว่าง ฉันทะ และ โลภะ

อ. ค่ะ ไม่ใช่ให้แยกด้วยความเป็นเรา แต่เข้าใจลักษณะที่เป็นธัมมะ

ผู้ฟัง คือต้องเข้าใจธรรมไปก่อน

อ. ตั้งต้นค่ะ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา ใครจะไปกลับ ไป สลับภาวนามยปัญญาก่อนแล้วก็มาสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา เป็นไปไม่ได้เลยค่ะ

ผู้ฟัง จินตามยปัญญา ก็คือ เราทบทวนที่ได้ยินได้ฟังก็เป็น จินตามยปัญญา

อ. คิด ปัญญาสำเร็จจากการคิด การไตร่ตรอง ความเข้าใจขึ้น ไม่ใช่ฟังแล้วหมด เลย แล้วฟังใหม่ แล้วก็หมดไปอีกนะคะ

ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นก็คือเกิดสลับกันได้ระหว่าง....

อ. ทุกอย่างเป็นธัมมะทั้งหมด ที่เกิดขึ้นจะไม่พ้นไปจากจิต เจตสิก รูป บังคับบัญชาไม่ได้

และ คำบรรยายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ โดยท่านอาจารย์สุจินต์

ฉะนั้น ลักษณะของ "ฉันทะ" ในการเจริญกุศลจึงต่างกับลักษณะของ "โลภะ" ผู้ที่ไม่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่สามารถรู้ชัดในลักษณะที่ต่างกันของฉันทะและโลภะ เวลาที่อยากเจริญกุศลก็เป็นไปด้วยความต้องการ คือ ต้องการกุศลบ้างหรือต้องการอานิสงส์คือผลของกุศลบ้าง ยังไม่สามารถที่จะทิ้งโลภะหรือความต้องการได้ เพราะรู้ว่า ถ้าทำกุศลแล้วย่อมได้รับผลของกุศล ใจที่มุ่งหวังผลของกุศลนั้นเป็นโลภะ ต่างกับผู้ที่มีฉันทะในการอบรมเจริญกุศลซึ่งไม่ใช่ต้องการกุศลด้วยโลภะ แต่เป็นความพอใจที่จะเจริญกุศลโดยไม่หวังผล เพราะเป็นอัธยาศัยจริงๆ จึงเป็นฉันทะในการอบรมเจริญกุศล

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 5 พ.ย. 2564

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 5 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 5 พ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม คิดเองไม่ได้จริงๆ ต้องฟังต้องศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเท่านั้น จึงจะมีความเข้าใจอย่างถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ตรงตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ แม้แต่ในขณะที่จำใจทำ โดยที่ไม่อยากจะทำสิ่งนั้น ก็มีความพอใจเกิดแล้วกับความจำใจไม่อยากทำสิ่งนั้น เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
petsin.90
วันที่ 5 พ.ย. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ