พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อานันทสังฆเภทสูตร ว่าด้วยผู้ทําลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันย่อมเสวยผลในนรกตลอดกัปหนึ่ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39792
อ่าน  388

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 137

ปฐมปัณณาสก์

อุปาลิวรรคที่ ๔

๙. อานันทสังฆเภทสูตร

ว่าด้วยผู้ทําลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันย่อมเสวยผลในนรกตลอดกัปหนึ่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 137

๙. อานันทสังฆเภทสูตร

ว่าด้วยผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันย่อมเสวยผลในนรกตลอดกัปหนึ่ง

[๓๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่ใช่ธรรม ฯลฯ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 138

ย่อมทอดทิ้งกัน ย่อมแยกจากกัน ย่อมทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยกจากกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูก่อนอานนท์ สงฆ์จะเป็นผู้แตกต่างกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.

[๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน จะประสพผลอะไร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น จะประสพผลอันเผ็ดร้อนซึ่งตั้งอยู่ตลอดกัปหนึ่ง.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ผลอันเผ็ดร้อนซึ่งตั้งอยู่ตลอดกัปหนึ่ง คืออะไร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น จะเสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัปหนึ่ง.

บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีแล้วในการแตกแยก ตั้งอยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย เข้าถึงนรก ตั้งอยู่ในนรกนั้นตลอดกัปหนึ่ง ย่อมพลาดจากธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ ย่อมเสวยกรรมอยู่ในนรกตลอดกัปหนึ่ง เพราะทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้แตกกัน.

จบอานันทสังฆเภทสูตรที่ ๙

อรรถกถาอานันทสังฆเภทสูตรที่ ๙

อานันทสังฆเภทสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กปฺปฏิิยํ ได้แก่ เหตุแห่งการตั้งอยู่ในนรกตลอดอายุกัป. บทว่า กิพฺพิสํ ปสวติ ความว่า ย่อมได้วิบากแห่งบาป. บทว่า อาปายิโก ได้แก่ ไปสู่อบาย. บทว่า เนรยิโก ได้แก่ เกิดในนรก. บทว่า วคฺครโต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 139

ได้แก่ ยินดีในความแตกกัน. บทว่า โยคกฺเขมโต ธํสติ ได้แก่ พลาดจากพระอรหัตอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ.

จบอรรถกถาอานันทสังฆเภทสูตรที่ ๙