พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อานันทสังฆสามัคคีสูตร ว่าด้วยผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39793
อ่าน  406

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 139

ปฐมปัณณาสก์

อุปาลิวรรคที่ ๔

๑๐. อานันทสังฆสามัคคีสูตร

ว่าด้วยผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 139

๑๐. อานันทสังฆสามัคคีสูตร

ว่าด้วยผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป

[๓๙] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าไม่ใช่ธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม ฯลฯ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ไม่แยกจากกัน ไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน ไม่สวดปาติโมกข์แยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูก่อนอานนท์ สงฆ์ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.

[๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะประสพผลอะไร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้น จะประสพบุญอันประเสริฐ.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุญอันประเสริฐ คืออะไร พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 140

พ. ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้น จะบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง.

ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดความสุข และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ผู้ยินดีแล้วในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พลาดจากธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะ ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง เพราะสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกัน.

จบอานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ ๑๐

จบอุปาลิวรรคที่ ๔

อรรถกถาอานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ ๑๐

อานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุคฺคโห ได้แก่ ความสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน. คำที่เหลือทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้น. จบอรรถกถาอานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ ๑๐.

จบอุปาลิวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุปาลิสูตร ๒. ทุติยอุปาลิสูตร ๓. อุพพาหสูตร ๔. อุปสัมปทาสูตร ๕. นิสสยสูตร ๖. สามเณรสูตร ๗. อุปาลิสังฆเภทสูตร ๘. อุปาลิสังฆสามัคคีสูตร ๙. อานันทสังฆเภทสูตร ๑๐. อานันทสังฆสามัคคีสูตร.