พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทุติยวิวาทมูลสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39796
อ่าน  365

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 142

ปฐมปัณณาสก์

อักโกสวรรคที่ ๕

๓. ทุติยวิวาทมูลสูตร

ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 142

๓. ทุติยวิวาทมูลสูตร

ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท ๑๐ ประการ

[๔๓] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งการวิวาท มีเท่าไรหนอแล.

พ. ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นอาบัติว่าไม่เป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 143

หยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ย่อมแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ย่อมแสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่าเป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ ย่อมแสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่าเป็นอาบัติทำคืนได้ ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๑๐ ประการนี้แล.

จบทุติยวิวาทมูลสูตรที่ ๓