พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. กุสินาราสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้ประสงค์จะโจทผู้อื่นพึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39797
อ่าน  364

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 143

ปฐมปัณณาสก์

อักโกสวรรคที่ ๕

๔. กุสินาราสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ประสงค์จะโจทผู้อื่นพึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 143

๔. กุสินาราสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ประสงค์จะโจทผู้อื่นพึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน

[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์เป็นที่นำไปทำพลีกรรม ใกล้กรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการอันภิกษุพึงพิจารณาในตนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์ มิได้เป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อนเถิด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 144

จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยวจีสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ มิได้ประกอบด้วยวจีสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงเข้าไปตั้งเมตตาจิตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุไม่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ไม่เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 145

ด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงไซร้ จะมีผู้กล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนคัมภีร์เสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีแล้ว จำแนกดีแล้ว ให้เป็นไปดีแล้วโดยพิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุเป็นผู้ไม่จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีแล้ว มิได้จำแนกดีแล้ว มิได้ให้เป็นไปดีแล้วโดยพิสดาร มิได้วินิจฉัยด้วยดีโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ ภิกษุนั้นถูกถามว่า ท่านผู้มีอายุ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในที่ไหน ดังนี้ แก้ไม่ได้ จะมีผู้กล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านศึกษาวินัยเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ธรรม ๕ ประการนี้ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงพิจารณาในตน.

ธรรม ๕ ประการ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงให้เข้าไปตั้งไว้ในตนเป็นไฉน คือจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑ จักกล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว ๑ ธรรม ๕ ประการนี้ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงเข้าไปตั้งไว้ในตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 146

ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ในตน พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น.

จบกุสินาราสูตรที่ ๔

อักโกสวรรคที่ ๕

อรรถกถากุสินาราสูตรที่ ๔

วรรคที่ ๕ กุสินาราสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กุสินารายํ ได้แก่ นครมีชื่ออย่างนี้ ชนทั้งหลาย่อมนำพลีไปเซ่นเพื่อประโยชน์แก่เทวดาทั้งหลายในที่นี้ เหตุนั้นที่นั้นจึงชื่อว่า พลิหรณะ เป็นที่นำพลีไปเซ่น. ในที่นำพลีไปเซ่นนั้น. ในบทว่า อจฺฉิทฺเทน อปฺปฏิมํเสน เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ความประมาทหรืออเนสนากรรมมีเวชกรรมเป็นต้น ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกระทำแล้ว กายสมาจารของภิกษุนั้นย่อมเป็นช่องดุจใบตาลที่ตัวปลวกเป็นต้นกัดแล้ว และชื่อว่าบกพร่องเพราะอาจจะจับต้อง คือจับที่ใดที่หนึ่งคร่ามาได้ กายสมาจารตรงกันข้าม ชื่อว่าไม่มีช่องไม่บกพร่อง. ส่วนวจีสมาจาร ชื่อว่าเป็นช่องบกพร่อง เพราะพูดเท็จพูดทิ่มแทงพูดส่อเสียด โจทด้วยอาบัติที่ไม่มีมูลเป็นต้น วจีสมาจารตรงกันข้าม ชื่อว่าไม่มีช่องไม่บกพร่อง. บทว่า เมตฺตํ นุ โข เม จิตฺตํ ได้แก่ เมตตาจิตที่ภิกษุตัดกังวลได้มาด้วยการประกอบเนืองๆ ซึ่งกรรมฐานภาวนา. บทว่า อนาฆาตํ ได้แก่ เว้นอาฆาต อธิบายว่า กำจัดอาฆาตด้วยการข่มไว้. บทว่า กตฺถ วุตฺตํ ความว่า สิกขาบทนี้ ตรัสไว้ที่นครไหน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 147

ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุให้ภิกษุอื่นกระทำโอกาสๆ หนึ่งแล้วโจท ชื่อว่ากล่าวโดยกาล. โจทกลางสงฆ์ กลางคณะ ที่โรงสลาก โรงยาคู โรงภัต โรงตรึก หนทางภิกษาจารและศาลฉัน ที่ศาลเฝ้า (บำรุง) หรือในคณะพวกอุปัฏฐากปวารณา ชื่อว่ากล่าวโดยมิใช่กาล กล่าวด้วยเรื่องที่แท้จริง ชื่อว่ากล่าวด้วยเรื่องจริง กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ ตาแก่ พ่อทำลายบริษัท พ่อถือบังสุกุล พ่อนักเทศก์ นี้สมควรแก่พ่อหรือ ชื่อว่ากล่าวด้วยคำหยาบ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านผู้เฒ่า ท่านผู้อนุเคราะห์บริษัท ท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุล ท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่านหรือ ชื่อว่ากล่าวด้วยคำไพเราะ. กล่าวอาศัยเหตุ ชื่อว่ากล่าวด้วยคำอิงประโยชน์. บทว่า เมตฺตจิตฺโต วกฺขามิ โน โทสนฺตโร ความว่า เราจะตั้งเมตตาจิตกล่าว ไม่มีประทุฐจิตกล่าว.

จบอรรถกถากุสินาราสูตรที่ ๔