พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ภัณฑนสูตร ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่เป็นเหตุให้ไม่วิวาทกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39803
อ่าน  330

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 163

ปฐมปัณณาสก์

อักโกสวรรคที่ ๕

๑๐. ภัณฑนสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่เป็นเหตุให้ไม่วิวาทกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 163

๑๐. ภัณฑนสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่เป็นเหตุให้ไม่วิวาทกัน

[๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดหมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรอันเธอทั้งหลายพักค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดหมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเกิดความหมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ นี้เป็นกรรมไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 164

และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ แม้นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีนี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อละความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน มีปกติรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 165

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจทั้งสูงทั้งต่ำของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น เป็นผู้สามารถเพื่อทำ เพื่อจัดได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงทั้งต่ำของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ มีความใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความใคร่ในธรรม ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ตามมีตามได้นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 166

และกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นความเกิด ดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

จบภัณฑนสูตรที่ ๑๐

จบอักโกสวรรคที่ ๕

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 167

อรรถกถาภัณฑนสูตรที่ ๑๐

ภัณฑนสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีล พาหุสัจจะ วิริยะ สติ และปัญญา คละกันทั้งโลกิยะทั้งโลกุตระ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง มีใจความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาภัณฑนสูตรที่ ๑๐

จบอักโกสวรรคที่ ๕

จบปฐมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิวาทสูตร ๒. ปฐมวิวาทมูลสูตร ๓. ทุติยวิวาทมูลสูตร ๔. กุสินาราสูตร ๕. ปเวสนสูตร ๖. สักกสูตร ๗. มหาลิสูตร ๘. อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร ๙. สรีรัฏฐธรรมสูตร ๑๐. ภัณฑนสูตร.