พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปริหานสูตร ว่าด้วยภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39809
อ่าน  340

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 181

ทุติยปัณณาสก์

สจิตตวรรคที่ ๑

๕. ปริหานสูตร

ว่าด้วยภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 181

๕. ปริหานสูตร (๑)

ว่าด้วยภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน

[๕๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม ดังนี้ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล อนึ่ง บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่อาวุโส กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลแล เพื่อทราบเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านพระสารีบุตร ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะ


(๑) พระสูตรที่ ๕ - ๗ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 182

ท่านพระสารีบุตรเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้วจักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ฟังธรรมที่ไม่เคยฟัง ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นฟังแล้ว ย่อมถึงความเลอะเลือน ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ๑ ภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ธรรมที่ตนยังไม่รู้ ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมฟังธรรมที่คนไม่เคยฟังมา ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้ว ย่อมไม่ถึงความเลอะเลือน ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมปรากฏ ๑ ภิกษุนั้นย่อมรู้ธรรมที่ตนยังไม่รู้ ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 183

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเสมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจดหรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้นก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นนั่นเทียวว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ แม้ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือไม่มีหนอ เราเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่มักโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความปราโมทย์ในธรรมภายในหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความปราโมทย์ในธรรมภายนอกหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ ดังนี้ เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดในตนไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 184

พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเที่ยว ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถ้อย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะนั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นกุศลธรรมบางอย่างในตน ย่อมไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรมบางอย่างในตนไซร้ ภิกษุนั้นพึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ไม่พิจารณาเห็นในตนเหล่านั้น.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะนั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 185

ทั้งหลายที่ไม่พิจารณาเห็นในตนเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดในตนไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว แล้วพึงทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

จบปริหานสูตรที่ ๕