๙. ปัพพชิตสูตร ว่าด้วยจิตของบรรพชิตที่ได้รับการอบรมดีแล้ว ย่อมได้รับผล ๒ อย่าง
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 188
ทุติยปัณณาสก์
สจิตตวรรคที่ ๑
๙. ปัพพชิตสูตร
ว่าด้วยจิตของบรรพชิตที่ได้รับการอบรมดีแล้ว ย่อมได้รับผล ๒ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 188
๙. ปัพพชิตสูตร
ว่าด้วยจิตของบรรพชิตที่ได้รับการอบรมดีแล้ว ย่อมได้รับผล ๒ อย่าง
[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความประพฤติชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยปหานสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตว-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 189
โลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรมด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
จบปัพพชิตสูตรที่ ๙
อรรถกถาปัพพชิตสูตรที่ ๙
ปัพพชิตสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุที่ประโยชน์แห่งสามัญญผล (คุณเครื่องเป็นสมณะ) ไม่ถึงพร้อมแก่ผู้ที่มีจิตมิได้สร้างสมอย่างนี้ ฉะนั้น. บทว่า ยถาปพฺพชฺชา ปริจิตญฺจ โน จิตฺตํ ภวิสฺสติ. ความว่า สร้างสมมาโดยสมควรแก่การบวช จริงอยู่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่งชื่อว่าบวช คนเหล่านั้นทั้งหมดก็ปรารถนาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จิตใดเขาสร้างสมอบรมมาเพื่อประโยชน์แก่การบรรลุพระอรหัต จิตนั้นพึงทราบว่า ชื่อว่าสร้างสมมาโดยสมควรแก่การบวช. เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักเป็นเช่นนี้. บทว่า โลกสฺส สมญฺจ วิสมญฺจ ได้แก่ สุจริตและทุจริตของสัตวโลก. บทว่า โลกสฺส สมฺภวญฺจ วิภวญฺจ ได้แก่ ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกนั้น อีกนัยหนึ่ง สมบัติและวิบัติ.