พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยสุขสูตร ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39820
อ่าน  338

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 208

ทุติยปัณณาสก์

ยมกวรรคที่ ๒

๖. ทุติยสุขสูตร

ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 208

๖. ทุติยสุขสูตร

ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข

[๖๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลันทคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ในธรรมวินัยนี้ อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ในธรรมวินัยนี้ ความไม่ยินดีแลเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อมีความไม่ยินดี เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้ คือบุคคลผู้มีความไม่ยินดีแม้เดินอยู่ ก็ไม่ประสบความสุขความสำราญ บุคคลผู้มีความไม่ยินดี แม้ยืนอยู่ ฯลฯ แม้นั่งอยู่ ฯลฯ แม้นอนอยู่ ฯลฯ แม้อยู่ในบ้าน ฯลฯ แม้อยู่ในป่า ฯลฯ แม้อยู่ที่โคนไม้ ฯลฯ แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า ฯลฯ แม้อยู่ในที่แจ้ง ฯลฯ แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมไม่ประสบความสุขความสำราญ ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อมีความไม่ยินดีก็เป็นอันหวังได้ความทุกข์นี้ ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ความสุขนี้ คือบุคคลผู้มีความยินดีแม้เดินอยู่ ก็ย่อมประสบความสุขความสำราญ บุคคลผู้มีความยินดีแม้ยืนอยู่ ฯลฯ แม้นั่งอยู่ ฯลฯ แม้นอนอยู่ ฯลฯ แม้อยู่ในบ้าน ฯลฯ แม้อยู่ในป่า ฯลฯ แม้อยู่ที่โคนไม้ ฯลฯ แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า ฯลฯ แม้อยู่ในที่แจ้ง ฯลฯ แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมประสบความสุขความสำราญ ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดีก็เป็นอันหวังได้ความสุขนี้.

จบทุติยสุขสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 209

อรรถกถาทุติยสุขสูตรที่ ๖

ทุติยสุขสูตรที่ ๖ สามัณฑกานิปริพาชก ถามท่านพระสารีบุตรถึงสุขทุกข์ที่มีศาสนาเป็นมูล.

จบอรรถกถาทุติยสุขสูตรที่ ๖