พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทุติยนฬกปานสูตร ว่าด้วยผู้มีศรัทธาในกุศลธรรมไม่หวังได้ความเสื่อมเลย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39822
อ่าน  432

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 212

ทุติยปัณณาสก์

ยมกวรรคที่ ๒

๘. ทุติยนฬกปานสูตร

ว่าด้วยผู้มีศรัทธาในกุศลธรรมไม่หวังได้ความเสื่อมเลย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 212

๘. ทุติยนฬกปานสูตร

ว่าด้วยผู้มีศรัทธาในกุศลธรรมไม่หวังได้ความเสื่อมเลย

[๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปลาสวัน ในนฬกปานนิคม สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันหมู่ภิกษุแวดล้อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 213

ประทับนั่งแล้วในวันอุโบสถ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงภิกษุทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาสิ้นส่วนแห่งราตรีเป็นอันมาก ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่แล้ว ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสงฆ์เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาเพื่อภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะเธอ เราเมื่อยหลัง จักเอนหลัง ท่านพระสารีบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแล้ว สำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำอุฏฐานสัญญาไว้ในพระทัย.

ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลทั้งหลาย ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา ไม่มีการเงี่ยโสตลงฟังธรรม ไม่มีการทรงจำธรรมไว้ ไม่มีการพิจารณาเนื้อความ ไม่มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่มีความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างแรมย่อมผ่านพ้น พระจันทร์ย่อมเสื่อมวรรณะ ฯลฯ ฉันใด ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญา มีการเงี่ยโสตลงฟังธรรม มีการทรง-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 214

จำธรรมไว้ มีการพิจารณาเนื้อความ มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป พระจันทร์นั้นย่อมเจริญ ด้วยวรรณะ ฯลฯ ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสชมท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่หวังได้ความเจริญเลย ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างแรมย่อมผ่านพ้นไป พระจันทร์ย่อมเสื่อมจากวรรณะ ฯลฯ ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป พระจันทร์นั้นย่อมเจริญ ด้วยวรรณะ ฯลฯ ฉันใด ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบทุติยนฬกปานสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 215

อรรถกถาปฐมนฬกปานสูตรที่ ๗

ปฐมนฬกปานสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นฬกปานํ ได้แก่ นิคมมีชื่ออย่างนี้ เพราะครั้งอดีตฝูงวานรอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ใช้หลอดไม้อ้อในที่ดื่มน้ำ. บทว่า ตุณฺหีภูตํ ตุณฺหีภูตํ ความว่า ทรงชำเลืองดูทิศใดๆ ก็ทรงเห็นภิกษุสงฆ์พากันนิ่ง ในทิศนั้นๆ. บทว่า อนุวิโลเกตฺวา ได้แก่ ทรงเหลียวดูจากทิศนั้น. บทว่า ปิฏฺฐิ เม คิลายติ ความว่า เหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเมื่อยพระปฤษฎางค์. เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ถึง ๖ ปี ก็ได้มีทุกข์ทางพระวรกายเป็นอันมาก ต่อมาภายหลัง ครั้นทรงพระชรา พระองค์จึงเกิดโรคพระวาตะเบื้องพระปฤษฎางค์ แท้จริง อาพาธเล็กๆ น้อยๆ จากพระอิริยาบถมีประทับนั่งนานเป็นต้น ครอบงำพระอุปาทินนกวรกายไม่ได้ดอก แต่ทรงอ้างข้อนั้นตรัสอย่างนี้ ก็เพื่อการทำโอกาสแก่พระเถระ. บทว่า สงฺฆาฏิํ ปญฺาเปตฺวา ความว่า ทรงปูสังฆาฏิบนเตียงที่เป็นกัปปิยะ (สมควร) ซึ่งเขาจัดไว้ในที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง.

จบอรรถกถาปฐมนฬกปานสูตรที่ ๗